Reskill Upskill และ Rotation กลยุทธ์การพัฒนาพนักงานยุคใหม่ที่บริษัททั่วโลกยอมลงทุน
In Summary
- Reskill Upskill และ Rotation คือกลยุทธ์ที่สำคัญมากในยุคนี้ มาดูกันว่าแต่ละอย่างคืออะไร และทำไมถึงจำเป็น
- เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็วทำให้โลกของเราเปลี่ยนไปมาก และแน่นอนว่าสิ่งที่เปลี่ยนตามกันคือความต้องการในตลาดแรงงาน
ทักษะที่เคยสำคัญก็ไม่สำคัญแล้ว มีทักษะใหม่ๆ ที่เกิดตามเทคโนโลยีมาให้เรียนรู้มากมาย นั่นคือสาเหตุที่ว่าทำไมองค์กรต้องมีกลยุทธ์ในการเทรนพนักงานให้ปรับตัวได้ทัน
ต้องยอมรับว่าโลกเราเปลี่ยนแปลงอย่างหน้ามือเป็นหลังมือหลังจากการพัฒนาของเทคโนโลยีที่พลิกโฉมโลกไปมากในทศวรรษที่ผ่านมานี้ แน่นอนว่าสิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนตามคืออาชีพและความต้องการในตลาดแรงงาน หลายคนคงใจหายหากได้ยินว่าทักษะต่างๆ ที่เคยเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานช่วง 10 ปีที่แล้วกับปีนี้นั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทักษะที่เคยหาเงินได้ดีกลับตกอันดับและถูกแทนที่ด้วยทักษะใหม่ๆ ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี
การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่เราต้องเจอ และการปรับตัวเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ และในอีกทางหนึ่งแม้การเปลี่ยนแปลงอาจฟังดูท้าทาย แต่ทุกการเปลี่ยนแปลงมาพร้อมประตูบานใหม่ที่จะเปิดโอกาสให้เราพัฒนาไปในจุดที่ไกลกว่าเดิม
นั่นคือสาเหตุว่าทำไมองค์กรต่างๆ ในปัจจุบันพยายามอย่างหนักที่จะเทรนพนักงานให้ปรับตัวเข้ากับโลกการทำงานใบใหม่นี้ด้วยการ Reskill Upskill และ Rotaion
บางคนคงรู้สึกว่าคำพวกนี้ช่างคุ้นหูจริงๆ แน่นอน เพราะมันเป็นกลยุทธ์ที่กำลังฮิตมากในขณะนี้ เรียกได้ว่าองค์กรใหญ่ทั่วโลกต่างเอาจริงเอาจังกับการจัดโปรแกรมเหล่านี้เพื่อพัฒนาให้พนักงานของพวกเขาสามารถเพิ่มทักษะที่จำเป็นได้และไม่ตกขบวนรถไฟของตลาดแรงงาน
บางคนคงรู้สึกว่าคำพวกนี้ช่างคุ้นหูจริงๆ แน่นอน เพราะมันเป็นกลยุทธ์ที่กำลังฮิตมากในขณะนี้ เรียกได้ว่าองค์กรใหญ่ทั่วโลกต่างเอาจริงเอาจังกับการจัดโปรแกรมเหล่านี้เพื่อพัฒนาให้พนักงานของพวกเขาสามารถเพิ่มทักษะที่จำเป็นได้และไม่ตกขบวนรถไฟของตลาดแรงงาน
วันนี้ SHiFT Your Future จะพาทุกคนไปหาคำตอบกันว่า Reskill Upskill และ Rotation คืออะไร และทำไมมันถึงจำเป็นอย่างมากในยุคนี้
Reskill และ Upskill คืออะไร?
การ Reskill นั้น หากแปลตรงตัวคือการเทรนพนักงานให้สามารถนำทักษะที่มีอยู่แล้วไปปรับใช้กับการทำงานด้านอื่นๆ ที่แตกต่างจากงานที่ทำอยู่ได้ เช่น เทรนนักเขียนบทความของบริษัทรู้จักการเขียนบทความเชิง SEO (Search engine optimization) เพื่อนำไปใช้กับการโพสต์บทความบนอินเทอร์เน็ตให้สามารถขึ้นอันดับแรกๆ ของการค้นหาได้
ส่วนการ Upskill นั้นคือการเทรนทักษะใหม่ๆ ที่พนักงานยังไม่เคยเรียนรู้มาก่อน อาทิ เทรนสกิลการทำการตลาดแบบ Digital Marketing หรือการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Data Analytics ให้กับพนักงานเพื่อให้สามารถนำไปปรับใช้กับระบบการจัดการลูกค้าแบบอัตโนมัติได้
ทำไมต้อง Reskill และ Upskill?
คำตอบว่าทำไมต้องมีการ Reskill และ Upskill ภายในองค์กรนั้นไม่ยากเลย ก็เพื่อให้ทั้งบริษัทและตัวพนักงานเองอยู่รอดในยุคที่ทักษะในตลาดแรงงานเปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง การ Reskill และ Upskill นอกจากจะทำให้พนักงานแต่ละคนได้ความรู้ใหม่ติดตัว และมีงานรองรับตามกระแสของตลาดแล้ว ยังช่วยทำให้บริษัทได้พนักงานที่มีความรู้และทักษะที่สามารถช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของบริษัทให้โดดเด่นกว่าบริษัทคู่แข่งอื่นๆ ได้
การสร้างโปรแกรมการ Reskill และ Upskill ในองค์กรนั้นยังช่วยให้องค์กรสามารถวางแผนพัฒนาพนักงานไปตามเป้าหมายได้ และยังมีโอกาสที่พนักงานแต่ละคนอาจจะค้นพบความสามารถใหม่ๆ ที่ซ่อนอยู่ และสามารถทำประโยชน์ให้องค์กรได้มากกว่าเดิม นอกจากนี้ในระยะยาวยังช่วยผลักดันให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่กระตุ้นให้พนักงานเรียนรู้และปรับตัวได้เท่าทันโลกอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย
Amazon บริษัทอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ของโลกยอมทุ่มทุนกว่า 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในการเปิดโปรแกรม Upskill ให้พนักงานในทุกแผนก โดยเป็นการออกค่าใช้จ่าย 95 เปอร์เซ็นต์ให้พนักงานไปลงเรียนคอร์สต่างๆ ที่จัดไว้ให้ โดยเน้นหนักทางด้านเอไอและเทคโนโลยีเพื่อให้พนักงานมีทักษะที่อบโจทย์กว่าเดิม
PwC บริษัทด้านบัญชีชื่อดังของโลกก็เป็นอีกบริษัทที่ลงทุน 3 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐในการออกแบบโปรแกรม Reskill และ Upskill ให้พนักงานโดยเฉพาะ โดยให้ข้อตกลงว่าคนที่เข้ามาเทรนในโปรแกรมเหล่านี้สามารถมั่นใจในความมั่นคงของอาชีพการงานได้เลย เพราะบริษัทไม่ยอมทิ้งพนักงานที่เทรนมากับมือแน่นอน
Rotation Program กลยุทธ์เพิ่มทักษะรูปแบบใหม่ที่ฮิตไม่แพ้กัน
คำว่า Rotation นั้น หากแปลตรงตัวจะหมายความว่าการหมุนเวียน เพราะฉะนั้นการสร้างโปรแกรม Rotation จึงหมายถึงการหมุนเวียนพนักงานให้ไปลองทำงานในแผนกต่างๆ ที่แตกต่างกันไป เพื่อกระตุ้นให้พนักงานได้เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ในการทำงานนั่นเอง โดยจะเน้นไปที่ตำแหน่งที่มีระดับงานเท่ากันเป็นหลักเพื่อไม่ให้เกิดแรงกดดันที่มากเกินไป
ลองนึกถึงตอนที่เราได้เริ่มงานที่ใหม่ เรามักจะตื่นเต้น กระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น ซึ่งโปรแกรม Rotation นี้แหละจะช่วยให้เรามีแรงกระตุ้นและรู้สึกตื่นเต้น สดใหม่ในการทำงานอยู่เสมอ และพนักงานก็ไม่ต้องไปเริ่มใหม่ที่บริษัทใหม่ สามารถเริ่มใหม่อย่างตื่นเต้นได้ในองค์กรเดิม นอกจากนี้โปรแกรม Rotation ยังเป็นเครื่องมือชั้นดีที่จะช่วยให้พนักงานสามารถหาตำแหน่งที่เหมาะที่สุดเจอ และได้เก็บเกี่ยวความรู้ใหม่ๆ ตลอดโปรแกรมอีกด้วย
ธนาคาร HSBC ถือเป็นหนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ลงทุนกับโปรแกรม Rotation อย่างมาก HSBC มีโปรแกรม Rotation หลากหลายโปรแกรม อาทิ Commercial Banking Global Graduate Program ที่จะหมุนเวียนพนักงานไปตามแผนกที่เน้นด้านความสัมพันธ์ การดูแลลูกค้า และการเงิน ส่วนโปรแกรม Digital Global Graduate Program จะเน้นที่แผนกด้านการธนาคาร สินทรัพย์ และโปรแกรมฝึกงาน Global Banking ก็เป็นอีกโปรแกรมที่เปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้ตลาดการเงินทั่วโลก
Deloitte บริษัทผู้ตรวจสอบบัญชีชื่อดังอีกที่ของโลกก็เป็นหนึ่งในบริษัทที่มีโปรแกรม Roatation โดยเนื่องจากบริษัทมีสาขากว่า 150 สาขาทั่วโลก พนักงานก็จะมีโอกาสได้เดินทางไปประจำสาขาที่ประเทศต่างๆ ซึ่งแม้ไม่ได้เป็นการหมุนเวียนไปตามแผนกแต่ก็ถือเป็นโปรแกรมที่ให้โอกาสดีๆ ไม่แพ้กันเลย ได้เรียนรู้วัฒนธรรมในการทำงานแต่ละที่ เรียนรู้ที่จะจัดการกับคนหลากหลายรูปแบบ ซึ่งเป็นโอกาสดีที่จะปูพื้นฐานเมื่อพนักงานเลื่อนขั้นสู่ระดับของผู้บริหารต่อไป
รู้จักกลยุทธ์ทั้ง 3 อย่างแล้ว อย่าลืมลองนำไปปรับใช้กับการทำงานในองค์กรดูนะครับ รับรองว่าถ้าทำได้ ยังไงก็ไม่ตกรถไฟขบวนนี้แน่นอน
Source
อัปเดตคอร์สใหม่และส่วนลดคอร์สต่างๆ
Thank you!
Policy Pages
Copyright © 2022
รับสิทธิพิเศษก่อนใคร แอดไลน์ @shiftyourfuture