มุมมองจากผู้เชี่ยวชาญ ‘โลกการทำงานจะเป็นอย่างไรหลังจบ COVID-19?’
โควิด-19 (COVID-19) จะเปลี่ยนโลกการทำงานของเราไปขนาดไหน? นี่คือประเด็นที่เราเชื่อว่าหลายคนกำลังสงสัย เนื่องจากการระบาดของโรคโควิด-19 มีผลกระทบที่เห็นได้อย่างชัดเจนในโลกการทำงาน องค์กรจำนวนมากจำใจเปลี่ยนรูปแบบเป็น Work from Home (WFH) เพื่อป้องกันการติดเชื้อ บางองค์กรประสบปัญหาจนจำเป็นต้องปลดพนักงานจำนวนมากออก สถานการณ์การจ้างงานและรูปแบบการทำงานในทุกพื้นที่ทั่วโลกจึงเป็นที่น่าจับตามองอย่างมาก
บทความจาก Shape of Tomorrow series ของ Fast Company ที่เราหยิบมาฝากกันในวันนี้ ได้รวบรวมความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญจากแพลตฟอร์มหางานระดับโลกอย่าง Glassdoor และ Linkedin ในเรื่องผลกระทบจากวิกฤติครั้งนี้ที่มีต่อสภาวะการจ้างงาน หลังจากวิกฤติครั้งนี้ผ่านไป รูปแบบของการทำงานและตลาดแรงงานจะเปลี่ยนไปขนาดไหน ร่วมหาคำตอบกันได้เลย
Andrew Chamberlain หัวหน้าทีมนักเศรษฐศาสตร์ (Chief Economist) ของ Glassdoor
สภาพตลาดแรงงานหลังโควิด-19 (COVID-19)
แอนดรูว์ยืนยันว่าหลังการระบาดของโควิด-19 จบลง พฤติกรรมการออมและการรับความเสี่ยงของคนรุ่นใหม่จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง เหมือนที่เกิดขึ้นหลังจาก Great Depression ในปี 1929 ทุกคนต่างได้บทเรียน คนรุ่นใหม่จะ ‘เพลย์เซฟ’ ระมัดระวังในการเก็บออมและหางานที่เน้นความมั่นคงมากขึ้น
ยิ่งในขณะนี้มีคนตกงานกว่า 30-40 ล้านคน ดังนั้นอัตราการแข่งขันจะสูงขึ้นแน่นอน แอนดรูว์จึงมองว่าการเพิ่มทักษะเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะเรื่องของการพูด การเจรจา การตลาด เพราะทักษะเหล่านี้ใช้ได้ตลอดไป และไม่มีทางถูกแทนที่ด้วย AI ได้
“ตอนนี้ถึงเวลาที่ควรจะหันกลับมาพัฒนาเอกลักษณ์ของแบรนด์ พัฒนาเว็บไซต์ที่ใช้งานง่าย และสร้างพอร์ตโฟลิโอที่แสดงให้เห็นความสามารถของคุณอย่างเต็มอัตรา” แอนดรูว์ย้ำ
นักเศรษฐศาสตร์ผู้นี้ยังมองว่าอุตสาหกรรมการผลิตจะฟื้นตัวได้เร็วที่สุด เพราะสามารถเก็บสินค้าไว้ในคลังก่อน และนำมาขายใหม่ได้เลย ภาคส่วนเทคโนโลยีและการเงินก็จะสามารถผ่านไปได้ค่อนข้างดี ในขณะที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว บันเทิง และสินค้าฟุ่มเฟือยยังต้องเจอกับภาวะตกต่ำต่อไปอีกเป็นเวลานาน กระบวนการฟื้นตัวจะเกิดขึ้นค่อนข้างช้า อาจกินเวลาต่อไปอีก 1 ปีหรือ 1 ปีครึ่งก็เป็นได้
รูปแบบการทำงาน
แอนดรูว์เล่าว่าก่อนหน้าวิกฤติครั้งนี้มีบริษัทเพียง 5% เท่านั้นที่ให้ทำงานแบบ WFH เต็มรูปแบบ และถึงแม้ตอนนี้องค์กรกว่า 1 ใน 3 ในอเมริกาจำใจต้องให้พนักงาน WFH แต่เขาไม่คิดว่าหลังจากวิฤติครั้งนี้จบลง บริษัทรูปแบบนี้จะเพิ่มจำนวนเกิน 20% ด้วยซ้ำ
บทความจาก Shape of Tomorrow series ของ Fast Company ที่เราหยิบมาฝากกันในวันนี้ ได้รวบรวมความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญจากแพลตฟอร์มหางานระดับโลกอย่าง Glassdoor และ Linkedin ในเรื่องผลกระทบจากวิกฤติครั้งนี้ที่มีต่อสภาวะการจ้างงาน หลังจากวิกฤติครั้งนี้ผ่านไป รูปแบบของการทำงานและตลาดแรงงานจะเปลี่ยนไปขนาดไหน ร่วมหาคำตอบกันได้เลย
Andrew Chamberlain หัวหน้าทีมนักเศรษฐศาสตร์ (Chief Economist) ของ Glassdoor
สภาพตลาดแรงงานหลังโควิด-19 (COVID-19)
แอนดรูว์ยืนยันว่าหลังการระบาดของโควิด-19 จบลง พฤติกรรมการออมและการรับความเสี่ยงของคนรุ่นใหม่จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง เหมือนที่เกิดขึ้นหลังจาก Great Depression ในปี 1929 ทุกคนต่างได้บทเรียน คนรุ่นใหม่จะ ‘เพลย์เซฟ’ ระมัดระวังในการเก็บออมและหางานที่เน้นความมั่นคงมากขึ้น
ยิ่งในขณะนี้มีคนตกงานกว่า 30-40 ล้านคน ดังนั้นอัตราการแข่งขันจะสูงขึ้นแน่นอน แอนดรูว์จึงมองว่าการเพิ่มทักษะเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะเรื่องของการพูด การเจรจา การตลาด เพราะทักษะเหล่านี้ใช้ได้ตลอดไป และไม่มีทางถูกแทนที่ด้วย AI ได้
“ตอนนี้ถึงเวลาที่ควรจะหันกลับมาพัฒนาเอกลักษณ์ของแบรนด์ พัฒนาเว็บไซต์ที่ใช้งานง่าย และสร้างพอร์ตโฟลิโอที่แสดงให้เห็นความสามารถของคุณอย่างเต็มอัตรา” แอนดรูว์ย้ำ
นักเศรษฐศาสตร์ผู้นี้ยังมองว่าอุตสาหกรรมการผลิตจะฟื้นตัวได้เร็วที่สุด เพราะสามารถเก็บสินค้าไว้ในคลังก่อน และนำมาขายใหม่ได้เลย ภาคส่วนเทคโนโลยีและการเงินก็จะสามารถผ่านไปได้ค่อนข้างดี ในขณะที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว บันเทิง และสินค้าฟุ่มเฟือยยังต้องเจอกับภาวะตกต่ำต่อไปอีกเป็นเวลานาน กระบวนการฟื้นตัวจะเกิดขึ้นค่อนข้างช้า อาจกินเวลาต่อไปอีก 1 ปีหรือ 1 ปีครึ่งก็เป็นได้
รูปแบบการทำงาน
แอนดรูว์เล่าว่าก่อนหน้าวิกฤติครั้งนี้มีบริษัทเพียง 5% เท่านั้นที่ให้ทำงานแบบ WFH เต็มรูปแบบ และถึงแม้ตอนนี้องค์กรกว่า 1 ใน 3 ในอเมริกาจำใจต้องให้พนักงาน WFH แต่เขาไม่คิดว่าหลังจากวิฤติครั้งนี้จบลง บริษัทรูปแบบนี้จะเพิ่มจำนวนเกิน 20% ด้วยซ้ำ
ส่วนตัวผมมองว่าการทำงานแบบ WFH จะอยู่ได้ไม่นาน
แอนดรูว์กล่าว
เขามองว่าการ WFH มีข้อเสียหลายอย่าง และไม่เหมือนกับการทำงานแบบทางไกล ตามที่หลายคนมักเข้าใจผิด WFH คือการทำงานจากบ้านจริงๆ แต่การทำงานทางไกลอาจเป็นการที่พนักงานทำงานใน Shared Office Space ซึ่งอยู่คนละที่กับบริษัทก็ได้
แม้จะพยายามปรับบ้านให้มีโต๊ะทำงาน และมีบรรยากาศที่เหมาะกับการทำงาน แต่บ้านก็ไม่ได้สร้างมาเพื่อที่จะส่งเสริมให้คนทำงานอยู่ดี เป็นข้อที่น่าคิดเพราะเรามักจะต้องเจอกับอาการ ‘เตียงดูด’ ทำให้หมดไฟทำงานกันบ่อยๆ
แอนดรูว์มองว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปไม่ใช่การเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเป็น WFH แต่บริษัทจะลดต้นทุนด้วยการลดพื้นที่ใช้สอยในออฟฟิศและลดสิทธิพิเศษต่างๆ ซึ่งไม่ใช่แค่ในส่วนของเทคโนโลยีหรือการเงินเท่านั้น แต่รวมถึงการลดการตกแต่งพื้นที่ออฟฟิศให้สวยงามหรือ ยกเลิกการมีฟิตเนสในออฟฟิศ และหันไปเน้นพัฒนาเรื่องความยืดหยุ่นในการทำงาน ประกันสุขภาพ และสิทธิประโยชน์ที่ใช้ได้จริงมากกว่า เช่น กองทุนเพื่อการเกษียณ ซึ่งเราก็มองว่าเป็นความคิดที่ดีในยุคที่คนต้องการความมั่นคงแบบนี้
ถึง WFH จะยังเป็นที่ถกเถียงว่าเหมาะสมแค่ไหน แต่การทำงานทางไกลมาแน่ แอนดรูว์คาดว่าจะได้เห็นการจ้างงานทางไกลนอกเมืองใหญ่ เนื่องจากมีพนักงานคุณภาพที่ค่าตัวไม่สูงนักจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศรอรับการจ้างงานอยู่อีกมาก ถ้าหากบริษัทเต็มใจที่จะจ้างงานแบบทางไกล
Kiran Prasad รองประธานฝ่าย Product for the Consumer Experience ของ Linkedin
สภาพตลาดแรงงานหลังโควิด-19 (COVID-19)
คิแรนมองว่าก่อนเกิดวิกฤติการระบาดของโรคโควิด-19 เป็นช่วงที่อัตราการว่างงานต่ำมากอยู่แล้ว เห็นได้จากจำนวนโพสต์รับสมัครงาน และจำนวนคนที่สมัครงาน แต่ตอนนี้เห็นได้ชัดเลยว่าจำนวนของคนที่เข้ามาหางาน และจำนวนของคนจ้างงานกำลังลดลงไปอีก อาจมีบางอุตสาหกรรมที่ยังคงมีการรับสมัครพนักงานใหม่ๆ ตลอด เช่น อุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์ เครือข่าย ความปลอดภัยสาธารณะ และการศึกษา ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่จำเป็น
“Linkedin เป็นบริษัทข้ามชาติจึงเห็นเทรนด์การจ้างงานของโลกชัดเจน
ซึ่งวันนี้ข้อมูลในระบบแสดงให้เห็นว่าการรับสมัครงานและการสมัครงานในจีนเริ่มมีแนวโน้มสูงขึ้น แทบถึงระดับเดิมก่อนเกิดการระบาดของโรคโควิด-19” คิแรนอธิบาย
นั่นหมายถึงว่า มหาอำนาจที่ล้มก่อนก็ลุกกลับมาก่อนได้จริงๆ
รูปแบบการทำงาน
“การทำงานทางไกลเป็นสิ่งที่โลกเตรียมพัฒนากันมานานแล้ว แต่ดำเนินมาอย่างช้าๆ โควิด-19 แค่มาเร่งความเร็วในการเปลี่ยนแปลงให้มากขึ้นเท่านั้น” คิแรนกล่าว
วิกฤติครั้งนี้ทำให้องค์กรในอเมริกาเริ่มจ้างงานทางไกลมากขึ้นอย่างฉับพลัน ตั้งแต่เดือนมีนาคม-เมษายน โพสต์รับสมัครงานทางไกลมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 91 เปอร์เซ็นต์ กิจการจำนวนมากกำลังพิจารณาว่าบางทีการทำงานทางไกลอาจมีประสิทธิภาพมากกว่าที่คิด พนักงานก็เริ่มรู้ตัวว่าพวกเขาก็สามารถทำงานจากที่บ้านได้ดีเช่นกัน
ผลสำรวจดัชนี Workforce Confidence ของ Linkedin แสดงให้เห็นว่าผู้เข้าร่วมสำรวจกว่า 55 เปอร์เซ็นต์ มองว่าการทำงานทางไกลสามารถใช้ได้กับกิจการของตัวเอง ซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นมากจากก่อนวิกฤติโควิด-19 โดยในอุตสาหกรรมดิจิทัล เช่น ซอฟต์แวร์ การเงิน และสื่อ มีจำนวนผู้สนับสนุนการทำงานทางไกลกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ แต่ในอุตสาหกรรมอื่นๆ ยังแตกเป็น 2 ฝ่าย อุตสาหกรรมด้านสุขภาพมีจำนวน 48 เปอร์เซ็นต์ อุตสาหกรรมการผลิตมี 41 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่การค้าปลีกมีแค่ 29 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
อีกประเด็นหนึ่งที่น่าจับตามองคือการทำงานทางไกลสามารถกระจายโอกาสในการทำงานทั่วประเทศได้มากขึ้น เพราะในอดีตมีแรงงานจำนวนไม่น้อยที่ต้องย้ายเข้ามาอยู่ในเมืองใหญ่เพื่อทำงาน ทำให้เป็นอุปสรรคในการเลือกงาน
คิแรนเล่าเพิ่มเติมว่าท่ามกลางข่าวร้ายของการปลดพนักงานก็ยังมีข่าวดีอยู่ เพราะองค์กรต่างๆ ยังให้ความช่วยเหลือพนักงานที่ถูกปลดค่อนข้างมาก โดยเผยแพร่รายชื่อของพนักงานที่ถูกปลดพร้อมกับแนบข้อความว่า
“เรากำลังพยายามช่วยหางานใหม่ให้พวกเขา ดังนั้นถ้ากิจการของคุณกำลังไปได้ดี และพร้อมที่จะให้โอกาส เราสามารถการันตีความสามารถของพวกเขาให้ได้”
ซึ่งช่วยลดความรู้สึกเสื่อมเสียและอับอายของพนักงานที่ถูกปลดได้เป็นอย่างมาก
จากความเห็นของผู้เชี่ยวชาญทั้งสอง สิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงไปแน่ๆ คือการจ้างงานทางไกลที่มีมากขึ้น ส่วนในเรื่องของการ WFH ให้มีประสิทธิภาพยังเป็นเรื่องที่เราต้องพัฒนากันต่อไป การฟื้นตัวของตลาดแรงงานหลังจากโควิด-19 อาจดูไม่ใช่เรื่องยาก เพราะเราเห็นว่าจีนนำไปก่อนแล้ว แต่คนรุ่นใหม่ก็จะได้รับบทเรียนในเรื่องการของการเพลย์เซฟและการเก็บออมแน่นอน
SHiFT Your Future ขอเอาใจช่วยให้ทุกคนอดทนและผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปได้ด้วยกัน
ที่มา: https://www.fastcompany.com/90506297/experts-predict-what-itll-take-to-find-a-job-in-a-post-covid-world
อัปเดตคอร์สใหม่และส่วนลดคอร์สต่างๆ
Thank you!
Policy Pages
Copyright © 2022
รับสิทธิพิเศษก่อนใคร แอดไลน์ @shiftyourfuture