NFT โอกาสสร้างรายได้ กับมูลค่าทางจิตใจบนโลกดิจิทัล
Non-Fungible Token (NFT) หรือแปลเป็นไทยว่า "เหรียญที่ไม่สามารถทดแทนกันได้" คือ สินทรัพย์ดิจิทัลประเภทหนึ่ง ที่มีความเฉพาะตัว แตกต่างไม่เหมือนกัน สามารถซื้อ-ขายกรรมสิทธิ์ได้ ไม่ว่าจะเป็น ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพกราฟิก คลิปวิดีโอ หรือ เสียงเพลง โดยมีระบบ Blockchain จะเข้ามาช่วยตรวจสอบให้รู้ว่าผลงานชิ้นไหนใครเป็นเจ้าของ
ทำไม NFT ถึงน่าสนใจ
เพราะโลกอนาคต ผลงานทางศิลปะจะเข้าไปอยู่ในรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น และแน่นอนคุณค่าทางใจต่องานศิลปะต่างๆ จะถูกวัดจากโลกดิจิทัลเช่นกัน ทำให้ผลงานเหล่านี้ถูกลอกเลียนไม่ได้
ก่อนที่จะมี NFT เราไม่สามารถบอกได้เลยว่าใครเป็นเจ้าของตัวจริง เพราะมันถูกทำซ้ำได้ง่าย เพียงแค่หาทางเซฟไฟล์นั้นออกมา ต่างกับงานศิลปะในอดีต
ลองนึกถึงภาพวาด “โมนาลิซา” ถึงแม้จะมีคนพิมพ์ภาพให้เหมือนไปแขวนตามที่ต่างๆ หรือค้นหาในโลกออนไลน์ก็เจอเต็มไปหมด แต่สินทรัพย์เหล่านั้นไม่ได้มีมูลค่า เพราะภาพที่มีมูลค่าคือภาพเดียวที่เป็นของแท้
ซึ่ง NFT จะเข้ามาทำให้ผลงานต่างๆ ที่อยู่บนโลกออนไลน์ของเรานั้นสามารถสร้างมูลค่าได้ ถึงแม้จะถูกทำซ้ำ และนำไปโพสต์ในโซเชียลมีเดียต่างๆ แต่สุดท้ายคนที่ถือกรรมสิทธิ์ที่ถูกต้องก็จะมีเพียงผู้เดียว ที่มีสิทธิ์จะถือครอง ขาย หรือโอนให้คนอื่นได้
สร้างสรรค์งานได้กี่รูปแบบ
งานศิลปะในยุคดิจิทัล อาจจะไม่ใช่การนำภาพวาดมาเปลี่ยนเป็นภาพดิจิทัลแล้วนำมาลงขาย แต่รูปแบบอาจจะเปลี่ยนไปให้เหมาะกับความต้องการของคนในอนาคตมากขึ้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องเป็นศิลปินก็สร้างได้
ทั้งนี้ในปัจจุบันสามารถสร้างผลงานได้ในรูปแบบ
-ภาพนิ่ง เช่น ภาพถ่ายหาดูยาก ภาพถ่ายประวัติศาสตร์ ภาพถ่ายจากคนดัง ภาพวาดต่างๆ ที่เคยขายเป็นงานศิลปะแบบจับต้องได้ งานกราฟิกดีไซน์ หรือแม้กระทั่งภาพที่แคปจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ธรรมดาๆ ก็สามารถนำไปขายได้
-ภาพเคลื่อนไหว เช่น วิดีโอช็อตสำคัญต่างๆ ทั้งจากปรากฎการณ์ธรรมชาติ ช็อตเด็ดในการแข่งขันกีฬา คลิปจากคนมีชื่อเสียง หรือ ภาพแอนิเมชันทั้งแบบมีเสียงและไม่มีเสียงประกอบ
-เสียง เช่น เพลง หรือ ทำนองต่างๆ
ตัวอย่างผลงานที่ขายได้ราคาสูง
หลายคนคงมีคำถามว่า ทำไมผลงานเหล่านี้ถึงขายได้ราคาสูงมากๆ ถึงแม้ว่าจะได้ไปแค่กรรมสิทธิ์ แต่ไม่ได้ลิขสิทธิ์ไปด้วย
ปัจจุบัน NFT ที่นำไปขายได้ราคาสูงที่สุดคือ ภาพ Everydays : The First 5000 Days ผลงานศิลปะดิจิทัลของ “Beeple” หรือ “ไมค์ วิงเคิลแมนน์” ที่มีคนประมูลไปในราคา 2,100 ล้านบาท
ทำไม NFT ถึงน่าสนใจ
เพราะโลกอนาคต ผลงานทางศิลปะจะเข้าไปอยู่ในรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น และแน่นอนคุณค่าทางใจต่องานศิลปะต่างๆ จะถูกวัดจากโลกดิจิทัลเช่นกัน ทำให้ผลงานเหล่านี้ถูกลอกเลียนไม่ได้
ก่อนที่จะมี NFT เราไม่สามารถบอกได้เลยว่าใครเป็นเจ้าของตัวจริง เพราะมันถูกทำซ้ำได้ง่าย เพียงแค่หาทางเซฟไฟล์นั้นออกมา ต่างกับงานศิลปะในอดีต
ลองนึกถึงภาพวาด “โมนาลิซา” ถึงแม้จะมีคนพิมพ์ภาพให้เหมือนไปแขวนตามที่ต่างๆ หรือค้นหาในโลกออนไลน์ก็เจอเต็มไปหมด แต่สินทรัพย์เหล่านั้นไม่ได้มีมูลค่า เพราะภาพที่มีมูลค่าคือภาพเดียวที่เป็นของแท้
ซึ่ง NFT จะเข้ามาทำให้ผลงานต่างๆ ที่อยู่บนโลกออนไลน์ของเรานั้นสามารถสร้างมูลค่าได้ ถึงแม้จะถูกทำซ้ำ และนำไปโพสต์ในโซเชียลมีเดียต่างๆ แต่สุดท้ายคนที่ถือกรรมสิทธิ์ที่ถูกต้องก็จะมีเพียงผู้เดียว ที่มีสิทธิ์จะถือครอง ขาย หรือโอนให้คนอื่นได้
สร้างสรรค์งานได้กี่รูปแบบ
งานศิลปะในยุคดิจิทัล อาจจะไม่ใช่การนำภาพวาดมาเปลี่ยนเป็นภาพดิจิทัลแล้วนำมาลงขาย แต่รูปแบบอาจจะเปลี่ยนไปให้เหมาะกับความต้องการของคนในอนาคตมากขึ้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องเป็นศิลปินก็สร้างได้
ทั้งนี้ในปัจจุบันสามารถสร้างผลงานได้ในรูปแบบ
-ภาพนิ่ง เช่น ภาพถ่ายหาดูยาก ภาพถ่ายประวัติศาสตร์ ภาพถ่ายจากคนดัง ภาพวาดต่างๆ ที่เคยขายเป็นงานศิลปะแบบจับต้องได้ งานกราฟิกดีไซน์ หรือแม้กระทั่งภาพที่แคปจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ธรรมดาๆ ก็สามารถนำไปขายได้
-ภาพเคลื่อนไหว เช่น วิดีโอช็อตสำคัญต่างๆ ทั้งจากปรากฎการณ์ธรรมชาติ ช็อตเด็ดในการแข่งขันกีฬา คลิปจากคนมีชื่อเสียง หรือ ภาพแอนิเมชันทั้งแบบมีเสียงและไม่มีเสียงประกอบ
-เสียง เช่น เพลง หรือ ทำนองต่างๆ
ตัวอย่างผลงานที่ขายได้ราคาสูง
หลายคนคงมีคำถามว่า ทำไมผลงานเหล่านี้ถึงขายได้ราคาสูงมากๆ ถึงแม้ว่าจะได้ไปแค่กรรมสิทธิ์ แต่ไม่ได้ลิขสิทธิ์ไปด้วย
ปัจจุบัน NFT ที่นำไปขายได้ราคาสูงที่สุดคือ ภาพ Everydays : The First 5000 Days ผลงานศิลปะดิจิทัลของ “Beeple” หรือ “ไมค์ วิงเคิลแมนน์” ที่มีคนประมูลไปในราคา 2,100 ล้านบาท
โพสต์แรกของ ผู้ก่อตั้ง Twitter อย่าง Jack Dorsey ที่นำมา Mint หรือ การทำผลงานให้เป็น NFT ขายได้เกือบ 90 ล้านบาท
หรือตัว มีม Nyan Cat ก็สามารถขายได้ถึง 18 ล้านบาท
ด้านผลงานของคนไทยก็มี ปกการ์ตูน ขายหัวเราะ ฉบับแรกที่มีลายเซ็น บก.วิธิต อุตสาหจิต ถูกประมูลไปในราคา 1,070,000 บาท ซึ่งสูงที่สุดในประเทศไทย
หรือตัว มีม Nyan Cat ก็สามารถขายได้ถึง 18 ล้านบาท
ด้านผลงานของคนไทยก็มี ปกการ์ตูน ขายหัวเราะ ฉบับแรกที่มีลายเซ็น บก.วิธิต อุตสาหจิต ถูกประมูลไปในราคา 1,070,000 บาท ซึ่งสูงที่สุดในประเทศไทย
รวมถึงศิลปินอย่าง ติ๊ก ชีโร่ ปาล์ม Instinct และ ยังโอม ก็เข้ามาขายงานศิลปะดิจิทัลเช่นกัน
ซึ่งจะเห็นว่าชื่อเสียงนั้นมีผลกับราคาในระดับหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า คนที่เริ่มต้นใหม่จะสร้างตัวเองไม่ได้ เพราะทุกอย่างอยู่ที่การเล่าเรื่อง ศิลปินหน้าใหม่จึงเกิดได้เสมอ
สร้างรายได้จาก NFT อย่างไร
ปัจจุบันวิธีซื้อ-ขาย กรรมสิทธิ์ สามารถทำได้ 2 วิธี คือ ซื้อ-ขายตามราคาที่ตั้งไว้เหมือนซื้อสินค้าทั่วไป หรือ ประมูล ผ่านแพลตฟอร์ม Market place ต่างๆ ในต่างประเทศ เช่น OpenSea, Rarible หรือ SuperRare ขณะที่ประเทศไทยยังติดเรื่องแนวทางกำกับดูแลให้คนไทยสามารถพัฒนาแพลตฟอร์มซื้อขาย NFT เองได้ จึงยังไม่มีแพลตฟอร์มจากคนไทยเปิดให้บริการ
ส่วนวิธีการสร้างรายได้นั้น แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ
วิธีแรก คือ การสร้างผลงานของตัวเองลงไปขาย ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาในการสั่งสมชื่อเสียงในระยะหนึ่ง
วิธีที่ 2 คือ การเก็งกำไรในผลงานศิลปะดิจิทัล เช่น การซื้อมาเก็บสะสมไว้ และขายต่อในราคาที่สูงกว่า หรือเข้าไปประมูลผลงาน ที่มีความพิเศษ ผลงานจากคนมีชื่อเสียง มีคนสนใจเป็นจำนวนมาก มาเก็บไว้และนำไปขายต่อเมื่อผลงานนี้มีความต้องการสูงขึ้น ทั้งนี้ราคาของ NFT สามารถขึ้นและลงได้ตามความต้องการของตลาด
มือใหม่ต้องทำอย่างไร?
ถึงแม้ว่า NFT จะถูกพูดถึงมากขึ้นในประเทศไทย แต่สำหรับบางคนก็ยังอาจจะเป็นมือใหม่ที่ไม่มีความรู้เรื่องสินทรัพย์ดิจิทัลเลย ซึ่งการซื้อขาย NFT นั้นจะต้องมีขั้นตอนมากมายในช่วงเริ่มต้น ทั้งการเปิดกระเป๋า Crypto Wallet และการเปิดบัญชีซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อเชื่อมต่อกระเป๋าเงินคริปโทเคอร์เรนซี
เพราะฉะนั้น ควรจะเริ่มต้นศึกษาความรู้พื้นฐานเรื่องสินทรัพย์ดิจิทัลก่อน ทั้งวิธีการแลกเปลี่ยนระหว่างเงินกับสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ ระหว่างคริปโทเคอร์เรนซีกับ NFT รวมถึงเรียนรู้การทำงานของบล็อกเชน ให้เรามีความรู้พื้นฐานในสินทรัพย์ดิจิทัล สามารถโอนเงินไปมาได้ด้วยตนเอง ก่อนจะไปศึกษาเทคโนโลยี NFT ต่อไป
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
-3 เรื่องควรรู้ ก่อนเลือกลงทุนกองทุนรวมต่างประเทศ
-4 วิธี สร้าง Passive Income ง่ายๆ เริ่มต้นจากทุนหลักพันบาท
ซึ่งจะเห็นว่าชื่อเสียงนั้นมีผลกับราคาในระดับหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า คนที่เริ่มต้นใหม่จะสร้างตัวเองไม่ได้ เพราะทุกอย่างอยู่ที่การเล่าเรื่อง ศิลปินหน้าใหม่จึงเกิดได้เสมอ
สร้างรายได้จาก NFT อย่างไร
ปัจจุบันวิธีซื้อ-ขาย กรรมสิทธิ์ สามารถทำได้ 2 วิธี คือ ซื้อ-ขายตามราคาที่ตั้งไว้เหมือนซื้อสินค้าทั่วไป หรือ ประมูล ผ่านแพลตฟอร์ม Market place ต่างๆ ในต่างประเทศ เช่น OpenSea, Rarible หรือ SuperRare ขณะที่ประเทศไทยยังติดเรื่องแนวทางกำกับดูแลให้คนไทยสามารถพัฒนาแพลตฟอร์มซื้อขาย NFT เองได้ จึงยังไม่มีแพลตฟอร์มจากคนไทยเปิดให้บริการ
ส่วนวิธีการสร้างรายได้นั้น แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ
วิธีแรก คือ การสร้างผลงานของตัวเองลงไปขาย ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาในการสั่งสมชื่อเสียงในระยะหนึ่ง
วิธีที่ 2 คือ การเก็งกำไรในผลงานศิลปะดิจิทัล เช่น การซื้อมาเก็บสะสมไว้ และขายต่อในราคาที่สูงกว่า หรือเข้าไปประมูลผลงาน ที่มีความพิเศษ ผลงานจากคนมีชื่อเสียง มีคนสนใจเป็นจำนวนมาก มาเก็บไว้และนำไปขายต่อเมื่อผลงานนี้มีความต้องการสูงขึ้น ทั้งนี้ราคาของ NFT สามารถขึ้นและลงได้ตามความต้องการของตลาด
มือใหม่ต้องทำอย่างไร?
ถึงแม้ว่า NFT จะถูกพูดถึงมากขึ้นในประเทศไทย แต่สำหรับบางคนก็ยังอาจจะเป็นมือใหม่ที่ไม่มีความรู้เรื่องสินทรัพย์ดิจิทัลเลย ซึ่งการซื้อขาย NFT นั้นจะต้องมีขั้นตอนมากมายในช่วงเริ่มต้น ทั้งการเปิดกระเป๋า Crypto Wallet และการเปิดบัญชีซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อเชื่อมต่อกระเป๋าเงินคริปโทเคอร์เรนซี
เพราะฉะนั้น ควรจะเริ่มต้นศึกษาความรู้พื้นฐานเรื่องสินทรัพย์ดิจิทัลก่อน ทั้งวิธีการแลกเปลี่ยนระหว่างเงินกับสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ ระหว่างคริปโทเคอร์เรนซีกับ NFT รวมถึงเรียนรู้การทำงานของบล็อกเชน ให้เรามีความรู้พื้นฐานในสินทรัพย์ดิจิทัล สามารถโอนเงินไปมาได้ด้วยตนเอง ก่อนจะไปศึกษาเทคโนโลยี NFT ต่อไป
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
-3 เรื่องควรรู้ ก่อนเลือกลงทุนกองทุนรวมต่างประเทศ
-4 วิธี สร้าง Passive Income ง่ายๆ เริ่มต้นจากทุนหลักพันบาท
อัปเดตคอร์สใหม่และส่วนลดคอร์สต่างๆ
Thank you!
Policy Pages
Copyright © 2022
รับสิทธิพิเศษก่อนใคร แอดไลน์ @shiftyourfuture