13 วิธีเพิ่ม Conversion Rate ที่ธุรกิจออนไลน์ควรรู้
การสร้าง Conversion Rate เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการทำธุรกิจออนไลน์ การที่มีคนคลิกเข้ามาชมสินค้าหรือบริการมากๆ นั้นเป็นมีโอกาสช่วยดันยอดขายให้สูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดคือ คุณจะต้องมีเป้าหมายในการทำเว็บไซต์ ต้องประเมินว่าข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่นั้นมีประสิทธิภาพเพียงใดเพื่อจะไปถึงเป้าหมาย จะทำอย่างไรให้คนสมัครบริการ หรือ ซื้อสินค้า เมื่อกดเข้ามาในหน้าผลิตภัณฑ์
ในบทความนี้ SHiFT Your Future จะมาแนะนำ 13 วิธีในการเพิ่ม Conversion Rate ที่ควรทำกัน
1.ทำการ A/B Testing
ไม่มีสิ่งใดที่ “สมบูรณ์แบบ” เมื่อพูดถึงการตลาด หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ เพราะฉะนั้นการทดลองแบบ A/B Testing จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดเพื่อลดความเสี่ยงในการตัดสินใจ และวิธีเดียวที่จะได้เรียนรู้ว่าการตลาดที่ใช้นั้นได้ผลหรือไม่ได้ผล
ทั้งนี้แบรนด์ควรทำ A/B Testing อย่างน้อย 1 ครั้งต่อ 1 ผลิตภัณฑ์ เพื่อทดสอบผลลัพธ์ของ Conversion Rate
2.สร้างข้อเสนอที่น่าสนใจและชัดเจน
นักการตลาดจำนวนมากพยายามปรับปรุงผลลัพธ์โดยการเปลี่ยนองค์ประกอบ เช่น สีและขนาดแบบอักษร รูปร่างของปุ่ม รูปภาพ และอื่นๆ ซึ่งอันที่จริงแล้วขั้นตอนแรกธุรกิจควรเน้นที่การเสริมสร้างคุณค่าของผลิตภัณฑ์หรือบริการอย่างแท้จริง
3.สร้างความไว้ใจ พัฒนาความสัมพันธ์ก่อนขาย
บางครั้งสิ่งที่ทำลาย Conversion ก็คือการขอให้ลูกค้า “สมัครใช้งาน” หรือ “สมัครสมาชิก” เร็วเกินไป เพราะลูกค้าอาจจะแค่อยากเข้ามาชม แต่ยังไม่รีบซื้อตอนนี้
ยิ่งผลิตภัณฑ์มีราคาแพงและ/หรือซับซ้อนมาก ลูกค้าจะยิ่งต้องการเวลามากขึ้นก่อนที่พวกเขาจะตัดสินใจซื้อ
ทั้งนี้การเสนอการสาธิตหรือการทดลองใช้ฟรี แทนการขอให้สมัครใช้งานหรือซื้อ อาจจะเป็นวิธีการที่ดีกว่า เพื่อสร้างความไว้วางใจ พัฒนาความสัมพันธ์ และพิสูจน์ความเชี่ยวชาญของคุณให้ลูกค้าเห็นก่อนตัดสินใจ
4.ตัดคำศัพท์ที่คนไม่เข้าใจออก
อย่าพยายามใช้ภาษาธุรกิจที่ซับซ้อน ให้ใช้ภาษาที่ลูกค้าอ่านและเข้าใจได้ง่าย หรือให้ลองจินตนาการว่าคุณกำลังอธิบายสินค้าหรือบริการให้เพื่อนฟัง ซึ่งก็จะใช้ภาษาแตกต่างจากการพูดให้คนในองค์กรฟัง
5.มีคำอธิบายให้ลูกค้าเสมอ
เมื่อลูกค้าเห็นข้อมูลสินค้าและบริการ ก็อาจจะมีคำถาม หรือข้อสงสัยก่อนจะตัดสินใจซื้อ ซึ่งแบรนด์จะต้องขจัดความลังเลของลูกค้า เพื่อสร้างโอกาสในการขาย ผ่านคำอธิบายต่างๆ เช่น อธิบายว่าผลิตภัณฑ์ของคุณจะเข้ามาช่วยแก้ไขอะไรบ้าง แสดงให้เห็นถึงประสบการณ์และรางวัลที่ผ่านมา มีตัวอย่างจากผู้ที่เคยใช้ผลิตภัณฑ์จริง รวมถึงการเปรียบเทียบกับคู่แข่ง เพื่อพิสูจน์คุณค่าของผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าได้เห็น
6.เพิ่มความไว้วางใจ
กูรูด้านการขายอย่าง Zig Ziglar เคยกล่าวไว้ว่ามีเพียง 4 เหตุผลที่คนจะไม่ซื้อสินค้า คือ ไม่จำเป็น ไม่มีเงิน ไม่รีบ และ ไม่เชื่อใจ ซึ่ง เหตุผล 3 ข้อแรก เป็นเหตุผลที่แบรนด์ไม่สามารถทำอะไรได้มาก แต่ “ความเชื่อใจ” เป็นสิ่งที่แบรนด์เพิ่มให้กับลูกค้าได้ เมื่อลูกค้าเข้ามาที่เว็บไซต์เพื่อหาข้อมูลของสินค้าและบริการต่างๆ และเมื่อลูกค้าต้องการจะซื้อสินค้าก็มีโอกาสจะกลับมาซื้อผ่านเว็บไซต์เรามากขึ้น
7.ทำให้ง่ายต่อการซื้อ
ผู้ใช้ไม่ควรต้องหาวิธีซื้อสินค้าด้วยตัวเอง หรือต้องผ่านขั้นตอนซับซ้อนก่อนจะถึงหน้าซื้อสินค้า แต่จะต้องคลิกเพียงไม่กี่ครั้งก็สามารถซื้อสินค้าได้ เป็นการทำธุรกิจให้ง่ายกับลูกค้ามากที่สุด
8.ให้ข้อมูลครบถ้วน
ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นทั่วไปคือ การให้ข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการที่ขาย เพราะฉะนั้นการเพิ่มรูปภาพ วิดีโอ รีวิว ที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทั้งหมด จะสร้างโอกาสโน้มน้าวใจลูกค้าให้สนใจกับผลิตภัณฑ์และบริการมากขึ้นได้
9.พิสูจน์คุณภาพได้
ไม่มีใครอยากเป็นคนเดียวที่ใช้สินค้าหรือบริการของคุณ เพราะฉะนั้นการมีตัวอย่างลูกค้าที่เคยใช้ผลิตภัณฑ์ มีผลการทดสอบผลิตภัณฑ์ และผ่านการรีวิวจากลูกค้า จะช่วยพิสูจน์ความน่าเชื่อถือของคุณภาพสินค้าได้
10.ขจัดสิ่งรบกวนบนเว็บไซต์
เว็บไซต์ที่มีภาพและข้อมูลที่ไม่จำเป็นมากเกินไป จะลดโอกาสในการตัดสินใจซื้อของลูกค้า การตัดสิ่งรบกวนสมาธิออกไป เช่น ตัวเลือกสินค้าที่ไม่จำเป็น ลิงก์ต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้า และข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกับสินค้า จะช่วยให้ลูกค้าโฟกัสอยู่กับตัวสินค้าได้มากขึ้นและมีโอกาสซื้อมากขึ้น
11.เทียบข้อมูลผลิตภัณฑ์ตัวเองกับคู่แข่ง
ทุกสินค้าและบริการมีคู่แข่งทั้งทางตรงและทางอ้อม ลูกค้ามักจะทำการบ้าน เปรียบเทียบข้อมูลระหว่างผู้ขายก่อนตัดสินใจซื้อ ดังนั้นแบรนด์จึงต้องเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ของคุณกับผลิตภัณฑ์คู่แข่งโดยไม่ต้องรอให้ลูกค้าเป็นคนทำ เพื่อชี้ให้เห็นข้อได้เปรียบของสินค้าและบริการของเราที่เหนือกว่าคู่แข่ง
12.เสนอการรับประกัน ขจัดความเสี่ยง
ในกรณีสินค้าที่มีราคาสูง หรือสินค้าที่มีความเสี่ยงในการใช้งาน การเสนอการรับประกันในรูปแบบต่างๆ ให้ลูกค้า เช่น ประกันการดูแลรักษาหลังการซื้อ ประกันคืนเงินเมื่อสินค้ามีปัญหา จะช่วยแนวโน้มให้ลูกค้าเกิดความสบายใจมากขึ้นในการตัดสินใจซื้อสินค้า
13.เพิ่มแรงจูงใจในการซื้อ
การยื่นข้อเสนอ โดยทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าสินค้าหรือบริการนั้นเป็นสิ่งหายาก เช่น การแจ้งว่าสินค้าเหลือเพียง 2 ชิ้นสุดท้าย หรือลดราคาวันสุดท้ายแล้ว ส่วนกรณีที่สินค้ามีมาก ก็อาจจะใช้วิธีให้ของแถมหรือส่วนลด 10-20 คนแรกที่ซื้อสินค้าภายในเวลาที่กำหนด
สำหรับใครที่สนใจศึกษาด้านการตลาดเพิ่มเติม SHiFT Your Future ขอแนะนำคอร์ส ดิจิตัลมาร์เก็ตติ้ง ฉบับรื้อความคิด เรียนรู้ใหม่ เพื่อให้คุณเข้าใจในพื้นฐานการตลาดออนไลน์ที่ถูกต้อง สามารถพลิกธุรกิจและสร้างรายได้อย่างเติบโต
ที่มา cxl.com
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
-Agile marketing สิ่งที่องค์กรต้องทำ เพื่อรับมือกับการปรับพฤติกรรมของลูกค้าอย่างรวดเร็ว
-บริหารการตลาดผิดพลาด สิ่งที่น่ากังวลกว่าภาษี e-Service
ในบทความนี้ SHiFT Your Future จะมาแนะนำ 13 วิธีในการเพิ่ม Conversion Rate ที่ควรทำกัน
1.ทำการ A/B Testing
ไม่มีสิ่งใดที่ “สมบูรณ์แบบ” เมื่อพูดถึงการตลาด หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ เพราะฉะนั้นการทดลองแบบ A/B Testing จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดเพื่อลดความเสี่ยงในการตัดสินใจ และวิธีเดียวที่จะได้เรียนรู้ว่าการตลาดที่ใช้นั้นได้ผลหรือไม่ได้ผล
ทั้งนี้แบรนด์ควรทำ A/B Testing อย่างน้อย 1 ครั้งต่อ 1 ผลิตภัณฑ์ เพื่อทดสอบผลลัพธ์ของ Conversion Rate
2.สร้างข้อเสนอที่น่าสนใจและชัดเจน
นักการตลาดจำนวนมากพยายามปรับปรุงผลลัพธ์โดยการเปลี่ยนองค์ประกอบ เช่น สีและขนาดแบบอักษร รูปร่างของปุ่ม รูปภาพ และอื่นๆ ซึ่งอันที่จริงแล้วขั้นตอนแรกธุรกิจควรเน้นที่การเสริมสร้างคุณค่าของผลิตภัณฑ์หรือบริการอย่างแท้จริง
3.สร้างความไว้ใจ พัฒนาความสัมพันธ์ก่อนขาย
บางครั้งสิ่งที่ทำลาย Conversion ก็คือการขอให้ลูกค้า “สมัครใช้งาน” หรือ “สมัครสมาชิก” เร็วเกินไป เพราะลูกค้าอาจจะแค่อยากเข้ามาชม แต่ยังไม่รีบซื้อตอนนี้
ยิ่งผลิตภัณฑ์มีราคาแพงและ/หรือซับซ้อนมาก ลูกค้าจะยิ่งต้องการเวลามากขึ้นก่อนที่พวกเขาจะตัดสินใจซื้อ
ทั้งนี้การเสนอการสาธิตหรือการทดลองใช้ฟรี แทนการขอให้สมัครใช้งานหรือซื้อ อาจจะเป็นวิธีการที่ดีกว่า เพื่อสร้างความไว้วางใจ พัฒนาความสัมพันธ์ และพิสูจน์ความเชี่ยวชาญของคุณให้ลูกค้าเห็นก่อนตัดสินใจ
4.ตัดคำศัพท์ที่คนไม่เข้าใจออก
อย่าพยายามใช้ภาษาธุรกิจที่ซับซ้อน ให้ใช้ภาษาที่ลูกค้าอ่านและเข้าใจได้ง่าย หรือให้ลองจินตนาการว่าคุณกำลังอธิบายสินค้าหรือบริการให้เพื่อนฟัง ซึ่งก็จะใช้ภาษาแตกต่างจากการพูดให้คนในองค์กรฟัง
5.มีคำอธิบายให้ลูกค้าเสมอ
เมื่อลูกค้าเห็นข้อมูลสินค้าและบริการ ก็อาจจะมีคำถาม หรือข้อสงสัยก่อนจะตัดสินใจซื้อ ซึ่งแบรนด์จะต้องขจัดความลังเลของลูกค้า เพื่อสร้างโอกาสในการขาย ผ่านคำอธิบายต่างๆ เช่น อธิบายว่าผลิตภัณฑ์ของคุณจะเข้ามาช่วยแก้ไขอะไรบ้าง แสดงให้เห็นถึงประสบการณ์และรางวัลที่ผ่านมา มีตัวอย่างจากผู้ที่เคยใช้ผลิตภัณฑ์จริง รวมถึงการเปรียบเทียบกับคู่แข่ง เพื่อพิสูจน์คุณค่าของผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าได้เห็น
6.เพิ่มความไว้วางใจ
กูรูด้านการขายอย่าง Zig Ziglar เคยกล่าวไว้ว่ามีเพียง 4 เหตุผลที่คนจะไม่ซื้อสินค้า คือ ไม่จำเป็น ไม่มีเงิน ไม่รีบ และ ไม่เชื่อใจ ซึ่ง เหตุผล 3 ข้อแรก เป็นเหตุผลที่แบรนด์ไม่สามารถทำอะไรได้มาก แต่ “ความเชื่อใจ” เป็นสิ่งที่แบรนด์เพิ่มให้กับลูกค้าได้ เมื่อลูกค้าเข้ามาที่เว็บไซต์เพื่อหาข้อมูลของสินค้าและบริการต่างๆ และเมื่อลูกค้าต้องการจะซื้อสินค้าก็มีโอกาสจะกลับมาซื้อผ่านเว็บไซต์เรามากขึ้น
7.ทำให้ง่ายต่อการซื้อ
ผู้ใช้ไม่ควรต้องหาวิธีซื้อสินค้าด้วยตัวเอง หรือต้องผ่านขั้นตอนซับซ้อนก่อนจะถึงหน้าซื้อสินค้า แต่จะต้องคลิกเพียงไม่กี่ครั้งก็สามารถซื้อสินค้าได้ เป็นการทำธุรกิจให้ง่ายกับลูกค้ามากที่สุด
8.ให้ข้อมูลครบถ้วน
ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นทั่วไปคือ การให้ข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการที่ขาย เพราะฉะนั้นการเพิ่มรูปภาพ วิดีโอ รีวิว ที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทั้งหมด จะสร้างโอกาสโน้มน้าวใจลูกค้าให้สนใจกับผลิตภัณฑ์และบริการมากขึ้นได้
9.พิสูจน์คุณภาพได้
ไม่มีใครอยากเป็นคนเดียวที่ใช้สินค้าหรือบริการของคุณ เพราะฉะนั้นการมีตัวอย่างลูกค้าที่เคยใช้ผลิตภัณฑ์ มีผลการทดสอบผลิตภัณฑ์ และผ่านการรีวิวจากลูกค้า จะช่วยพิสูจน์ความน่าเชื่อถือของคุณภาพสินค้าได้
10.ขจัดสิ่งรบกวนบนเว็บไซต์
เว็บไซต์ที่มีภาพและข้อมูลที่ไม่จำเป็นมากเกินไป จะลดโอกาสในการตัดสินใจซื้อของลูกค้า การตัดสิ่งรบกวนสมาธิออกไป เช่น ตัวเลือกสินค้าที่ไม่จำเป็น ลิงก์ต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้า และข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกับสินค้า จะช่วยให้ลูกค้าโฟกัสอยู่กับตัวสินค้าได้มากขึ้นและมีโอกาสซื้อมากขึ้น
11.เทียบข้อมูลผลิตภัณฑ์ตัวเองกับคู่แข่ง
ทุกสินค้าและบริการมีคู่แข่งทั้งทางตรงและทางอ้อม ลูกค้ามักจะทำการบ้าน เปรียบเทียบข้อมูลระหว่างผู้ขายก่อนตัดสินใจซื้อ ดังนั้นแบรนด์จึงต้องเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ของคุณกับผลิตภัณฑ์คู่แข่งโดยไม่ต้องรอให้ลูกค้าเป็นคนทำ เพื่อชี้ให้เห็นข้อได้เปรียบของสินค้าและบริการของเราที่เหนือกว่าคู่แข่ง
12.เสนอการรับประกัน ขจัดความเสี่ยง
ในกรณีสินค้าที่มีราคาสูง หรือสินค้าที่มีความเสี่ยงในการใช้งาน การเสนอการรับประกันในรูปแบบต่างๆ ให้ลูกค้า เช่น ประกันการดูแลรักษาหลังการซื้อ ประกันคืนเงินเมื่อสินค้ามีปัญหา จะช่วยแนวโน้มให้ลูกค้าเกิดความสบายใจมากขึ้นในการตัดสินใจซื้อสินค้า
13.เพิ่มแรงจูงใจในการซื้อ
การยื่นข้อเสนอ โดยทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าสินค้าหรือบริการนั้นเป็นสิ่งหายาก เช่น การแจ้งว่าสินค้าเหลือเพียง 2 ชิ้นสุดท้าย หรือลดราคาวันสุดท้ายแล้ว ส่วนกรณีที่สินค้ามีมาก ก็อาจจะใช้วิธีให้ของแถมหรือส่วนลด 10-20 คนแรกที่ซื้อสินค้าภายในเวลาที่กำหนด
สำหรับใครที่สนใจศึกษาด้านการตลาดเพิ่มเติม SHiFT Your Future ขอแนะนำคอร์ส ดิจิตัลมาร์เก็ตติ้ง ฉบับรื้อความคิด เรียนรู้ใหม่ เพื่อให้คุณเข้าใจในพื้นฐานการตลาดออนไลน์ที่ถูกต้อง สามารถพลิกธุรกิจและสร้างรายได้อย่างเติบโต
ที่มา cxl.com
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
-Agile marketing สิ่งที่องค์กรต้องทำ เพื่อรับมือกับการปรับพฤติกรรมของลูกค้าอย่างรวดเร็ว
-บริหารการตลาดผิดพลาด สิ่งที่น่ากังวลกว่าภาษี e-Service
อัปเดตคอร์สใหม่และส่วนลดคอร์สต่างๆ
Thank you!
Policy Pages
Copyright © 2022
รับสิทธิพิเศษก่อนใคร แอดไลน์ @shiftyourfuture