‘นกน้อยตื่นเช้าจะได้กินหนอนมากกว่า’ คนตื่นเช้าได้เปรียบ เรื่องจริงหรือแค่ความเชื่อ?
In Summary
หลายครั้งที่เราตื่นแต่เช้าแล้วพบเจอกับคำคมจำนวนมากที่สอนเราว่า คนที่เริ่มต้นเร็ว หรือทำอะไรได้เยอะในตอนเช้า มักจะเป็นคนที่ประสบความสำเร็จมากกว่า
ซึ่งโอเค สำหรับคนที่ตื่นแต่เช้ามาไถฟีดตอนหกโมงเช้าอาจจะรู้สึกดีกับคำคมเหล่านี้ แต่ช้าก่อน เรากำลังหลงไปกับคำคมพวกนี้ จนเชื่อว่ามันจริงอย่างไม่สนใจปัจจัยอื่นๆ เลยรึเปล่า คนตื่นแต่เช้าดีเสมอ ส่วนคนตื่นสายคือไม่มีทางสู้ได้เลยหรือ?
ลัทธิคนตื่นเช้า
เรามักจะพบว่าพวกโค้ชด้านการทำงานหรือความเป็นผู้นำต่างๆ มักจะยกย่องคนที่เริ่มต้นวันก่อนคนอื่น ตอบอีเมลกว่าสิบฉบับ และหารายได้ไปแล้วหลายบาทในเวลาที่คนส่วนใหญ่ยังไม่ตื่นด้วยซ้ำ ซึ่งแนวคิดของการยิ่งเริ่มต้นเช้ายิ่งทำงานได้ดีนั้นก็ดูเหมือนว่าจะได้รับการสนับสนุนโดยหลักฐานที่น่าเชื่อถือ งานวิจัยของ Harvard Business Review ในปี 2010 ได้สำรวจผู้เข้าร่วมซึ่งเป็นนักเรียนมหาวิทยาลัยกว่า 367 คนโดยผลสรุปออกมาว่าคนที่เริ่มต้นวันแต่รุ่งเช้าและทำงานได้ดีในตอนเช้าจะมีความสำเร็จในหน้าที่การงานมากกว่า ซึ่งมีบางส่วนรายงานว่า เพราะคุณลักษณะนี้ทำให้ไม่ต้องไปเจอความวุ่นวายบนท้องถนนในชั่วโมงเร่งรีบ ทำให้จิตใจสงบ และเครียดน้อยลง
แต่ลองคิดทบทวนกันอีกทีดีมั้ย? หรือความคิดเหล่านี้จะล้าหลังไปแล้ว
ในยุคที่คนส่วนมากตอนเข้างาน 9 โมงถึง 5 โมง การเริ่มต้นแต่เช้าตรู่อาจดีกว่าจริงๆ แต่ในยุคที่เราทำงานได้จากที่บ้าน หรือทำงานทางไกลกับบริษัทต่างประเทศที่ไทม์โซนไม่ตรงกัน สิ่งนี้ยังดีกว่าจริงหรือ?
หรือเราเชื่อคำแนะนำมากไปจนไม่สนเหตุผล?
การต้องเจอกับคำแนะนำในการทำงาน การใช้ชีวิตมากมายทุกวี่วันบนโซเชียลมีเดียเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในโลกที่คนที่ ‘โปรดักทีพ’ (Productive) ที่สุดเป็นผู้ชนะแบบนี้ แต่ชีวิตที่อัดแน่นไปด้วยคำแนะนำหรือเคล็ดลับมากมายที่ผ่านตาและรุมเร้าเราอยู่เช้าเย็นอาจทำให้เราลืมมองความเป็นจริงของตัวเราเองไปรึเปล่า?
เรามักจะเจอกับคำแนะนำด้านสุขภาพที่บอกให้เรานอนให้ครบ 8 ชั่วโมงเพื่อสุขภาพที่ดี แต่เราก็ดันอยากเป็นนกน้อยรับอรุณสุดแข็งแกร่ง ถ้ากว่าเราจะกลับบ้านอาบน้ำนอนได้หลังเที่ยงคืนไปแล้ว แล้วเราจะใช้ชีวิตให้เป็นได้ทั้งสองแบบนั้นได้อย่างไร
ปัญหาของการโปรดักทีฟเชิงการตลาด
บทความแต่ละอันที่ออกมาในโลกอินเทอร์เน็ตนั้นถูกออกแบบมาให้เขียนถูกเรื่อง และโพสต์ถูกที่ถูกเวลาเพื่อดึงดูดผู้อ่านให้ได้มากที่สุด ถ้าคนเป็นคนตื่นแต่เช้าและไถหน้าฟีดตอนเช้าตรู่ แน่นอนว่าคุณคงเห็นบทความชื่นชมและยกย่องนกน้อยเหล่านั้นกันเต็มไปหมด
แต่ลองไปไถหน้าฟีดตอนตีสองดู คราวนี้นกฮูกตาโหลจะกลับกลายเป็นพระเอกซะงั้น บทความเกี่ยวกับคนที่สมองแล่นยามวิกาลจะโผล่ขึ้นมากลบนกน้อยเหล่านั้นซะมิด
บทความที่เล่าถึงผู้นำที่ประสบความสำเร็จจากการตื่นนอนตั้งแต่ตี 4 ครึ่ง ตามด้วยลิสต์งานตอนเช้าที่เขาทำสำเร็จก่อนคนอื่นยังไม่ตื่น ในแง่หนึ่งอาจจะเกิดมาเพื่อแนะนำวิถีชีวิตตัวอย่าง แต่อีกแง่กลับมีมาเพื่อทำให้พวกเราที่เหลือที่ไม่ชอบตื่นเช้ารู้สึก ‘ไม่ดีพอ’ และเอาความกดดันของการที่ต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตมาโถมทับลงที่เรา
ซึ่งโอเค! ผู้เขียนอาจเขียนทั้งหมดนี้ขึ้นมาเพื่อให้แรงบันดาลใจ และถ้ามันได้ผลกับคุณ นั่นก็คือคุณหาทางของตัวเองเจอแล้ว
แต่สำหรับเหล่านกฮูกทั้งหลายที่ได้แต่หวังลมๆ ว่าจะตื่นก่อนพระอาทิตย์ขึ้นได้บ้าง บทความเหล่านี้กลับสร้างความคาดหวังและความกดดันที่ไม่จำเป็นและไม่เฮลธ์ตี้เอาซะเลย
รับมือกับความกดดันจากกระแสคนตื่นเช้า
สั้นๆ ง่ายๆ รู้ไว้เสมอว่าทุกคนแตกต่างกัน
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเข้าใจว่าอะไรได้ผลกับเรา และอะไรไม่ได้ผล ฟังจังหวะและทำนองของร่างกายคุณ และไม่ต้องรู้สึกแย่เพียงเพราะรู้ว่า มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) นอนวันละ 5 ชั่วโมง
เราอาจจะชอบการตื่นไปวิ่งตอนเช้า แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นคนที่คิดอะไรเจ๋งๆ ออกในตอนกลางดึก ก็สลับกันบ้าง ไม่ต้องเลือกเป็นนกน้อยหรือนกฮูกอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
อีกสิ่งสำคัญคือคุณต้องนิยามรูปแบบความสำเร็จของคุณให้ได้ด้วยตัวเองก่อน ตอบคำถามของตัวเองให้ได้ว่าหน้าตาความสำเร็จที่เรารอคอยเป็นอย่างไร อย่าให้ความกดดันจากการเห็นความสำเร็จของคนอื่นมาทำให้คุณไขว้เขว
รัก ยอมรับ และเข้าใจตัวเราเอง
ถ้าคุณเป็นหนึ่งในคนที่ถูกกดดันจากความโปรดักทีพที่สังคมรอบตัวเร่งเร้าให้เราต้องเป็น ไม่ต้องห่วง เพราะคุณไม่ใช่คนเดียวที่โดนพิษจากความโปรดักทีฟจนเกินควรนั้น วิธีเยียวยาตัวเองนั้นไม่ยาก แค่..
ไม่ว่าคุณจะเป็นนกน้อยลุกขึ้นก่อนพระอาทิตย์ขึ้น หรือนกฮูกตื่นบ่าย หรือจะเป็นเสือ หมี โลมา ใดๆ ก็ตาม (แบบในหนังสือ ‘The Power of When’ อ่านรีวิวได้ที่นี่) รัก เข้าใจ และยอมรับในตัวเราซะ และอย่าให้คนอื่นมาบอกคุณว่าคุณต้องตื่นตอนไหน หรือทำอะไร
เพราะนั่นคือชีวิตเรา ไม่ใช่ชีวิตใคร
เคล็ดลับความสำเร็จที่ไม่เรื่องการตื่นตอนไหน อ่านต่อ
Source
- สำนวนที่ว่านกน้อยที่ตื่นเช้าจะได้กินหนอนมากกว่า หรือ “The early birds get more worms” เป็นสำนวนคลาสสิกที่เราได้ยินมาตลอด และเหล่าไลฟ์โค้ชด้านการทำงานก็มักจะนำไปพูดกัน
- ในยุคที่ต้องทำงาน 9 โมงถึง 5 โมงอาจจะใช่ แต่ในยุคที่เราทำงานทางไกล ทำงานที่บ้าน หรือทำงานกับต่างชาติที่คนละไทม์โซน คำพูดนี้อาจไม่จริงอีกต่อไป
- ที่เห็นได้ชัดคือคำคมสุดเท่นี้กลับสร้างความกดดันให้คนที่ไม่ใช่เหล่านกน้อย พาลให้คิดว่าจะไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งเราไม่ควรเอาคำแนะนำจากใครมากดดันตัวเอง เพราะวิถีชีวิตเราไม่เหมือนกัน สิ่งที่ทำได้คือการยอมรับและเข้าใจรูปแบบชีวิตของตัวเอง สร้างความสำเร็จในแบบของตัวเอง และผ่อนปรนกับตัวเองมาเพื่อสุขภาพจิตที่ดีกว่า
หลายครั้งที่เราตื่นแต่เช้าแล้วพบเจอกับคำคมจำนวนมากที่สอนเราว่า คนที่เริ่มต้นเร็ว หรือทำอะไรได้เยอะในตอนเช้า มักจะเป็นคนที่ประสบความสำเร็จมากกว่า
ซึ่งโอเค สำหรับคนที่ตื่นแต่เช้ามาไถฟีดตอนหกโมงเช้าอาจจะรู้สึกดีกับคำคมเหล่านี้ แต่ช้าก่อน เรากำลังหลงไปกับคำคมพวกนี้ จนเชื่อว่ามันจริงอย่างไม่สนใจปัจจัยอื่นๆ เลยรึเปล่า คนตื่นแต่เช้าดีเสมอ ส่วนคนตื่นสายคือไม่มีทางสู้ได้เลยหรือ?
ลัทธิคนตื่นเช้า
เรามักจะพบว่าพวกโค้ชด้านการทำงานหรือความเป็นผู้นำต่างๆ มักจะยกย่องคนที่เริ่มต้นวันก่อนคนอื่น ตอบอีเมลกว่าสิบฉบับ และหารายได้ไปแล้วหลายบาทในเวลาที่คนส่วนใหญ่ยังไม่ตื่นด้วยซ้ำ ซึ่งแนวคิดของการยิ่งเริ่มต้นเช้ายิ่งทำงานได้ดีนั้นก็ดูเหมือนว่าจะได้รับการสนับสนุนโดยหลักฐานที่น่าเชื่อถือ งานวิจัยของ Harvard Business Review ในปี 2010 ได้สำรวจผู้เข้าร่วมซึ่งเป็นนักเรียนมหาวิทยาลัยกว่า 367 คนโดยผลสรุปออกมาว่าคนที่เริ่มต้นวันแต่รุ่งเช้าและทำงานได้ดีในตอนเช้าจะมีความสำเร็จในหน้าที่การงานมากกว่า ซึ่งมีบางส่วนรายงานว่า เพราะคุณลักษณะนี้ทำให้ไม่ต้องไปเจอความวุ่นวายบนท้องถนนในชั่วโมงเร่งรีบ ทำให้จิตใจสงบ และเครียดน้อยลง
แต่ลองคิดทบทวนกันอีกทีดีมั้ย? หรือความคิดเหล่านี้จะล้าหลังไปแล้ว
ในยุคที่คนส่วนมากตอนเข้างาน 9 โมงถึง 5 โมง การเริ่มต้นแต่เช้าตรู่อาจดีกว่าจริงๆ แต่ในยุคที่เราทำงานได้จากที่บ้าน หรือทำงานทางไกลกับบริษัทต่างประเทศที่ไทม์โซนไม่ตรงกัน สิ่งนี้ยังดีกว่าจริงหรือ?
หรือเราเชื่อคำแนะนำมากไปจนไม่สนเหตุผล?
การต้องเจอกับคำแนะนำในการทำงาน การใช้ชีวิตมากมายทุกวี่วันบนโซเชียลมีเดียเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในโลกที่คนที่ ‘โปรดักทีพ’ (Productive) ที่สุดเป็นผู้ชนะแบบนี้ แต่ชีวิตที่อัดแน่นไปด้วยคำแนะนำหรือเคล็ดลับมากมายที่ผ่านตาและรุมเร้าเราอยู่เช้าเย็นอาจทำให้เราลืมมองความเป็นจริงของตัวเราเองไปรึเปล่า?
เรามักจะเจอกับคำแนะนำด้านสุขภาพที่บอกให้เรานอนให้ครบ 8 ชั่วโมงเพื่อสุขภาพที่ดี แต่เราก็ดันอยากเป็นนกน้อยรับอรุณสุดแข็งแกร่ง ถ้ากว่าเราจะกลับบ้านอาบน้ำนอนได้หลังเที่ยงคืนไปแล้ว แล้วเราจะใช้ชีวิตให้เป็นได้ทั้งสองแบบนั้นได้อย่างไร
ปัญหาของการโปรดักทีฟเชิงการตลาด
บทความแต่ละอันที่ออกมาในโลกอินเทอร์เน็ตนั้นถูกออกแบบมาให้เขียนถูกเรื่อง และโพสต์ถูกที่ถูกเวลาเพื่อดึงดูดผู้อ่านให้ได้มากที่สุด ถ้าคนเป็นคนตื่นแต่เช้าและไถหน้าฟีดตอนเช้าตรู่ แน่นอนว่าคุณคงเห็นบทความชื่นชมและยกย่องนกน้อยเหล่านั้นกันเต็มไปหมด
แต่ลองไปไถหน้าฟีดตอนตีสองดู คราวนี้นกฮูกตาโหลจะกลับกลายเป็นพระเอกซะงั้น บทความเกี่ยวกับคนที่สมองแล่นยามวิกาลจะโผล่ขึ้นมากลบนกน้อยเหล่านั้นซะมิด
บทความที่เล่าถึงผู้นำที่ประสบความสำเร็จจากการตื่นนอนตั้งแต่ตี 4 ครึ่ง ตามด้วยลิสต์งานตอนเช้าที่เขาทำสำเร็จก่อนคนอื่นยังไม่ตื่น ในแง่หนึ่งอาจจะเกิดมาเพื่อแนะนำวิถีชีวิตตัวอย่าง แต่อีกแง่กลับมีมาเพื่อทำให้พวกเราที่เหลือที่ไม่ชอบตื่นเช้ารู้สึก ‘ไม่ดีพอ’ และเอาความกดดันของการที่ต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตมาโถมทับลงที่เรา
ซึ่งโอเค! ผู้เขียนอาจเขียนทั้งหมดนี้ขึ้นมาเพื่อให้แรงบันดาลใจ และถ้ามันได้ผลกับคุณ นั่นก็คือคุณหาทางของตัวเองเจอแล้ว
แต่สำหรับเหล่านกฮูกทั้งหลายที่ได้แต่หวังลมๆ ว่าจะตื่นก่อนพระอาทิตย์ขึ้นได้บ้าง บทความเหล่านี้กลับสร้างความคาดหวังและความกดดันที่ไม่จำเป็นและไม่เฮลธ์ตี้เอาซะเลย
รับมือกับความกดดันจากกระแสคนตื่นเช้า
สั้นๆ ง่ายๆ รู้ไว้เสมอว่าทุกคนแตกต่างกัน
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเข้าใจว่าอะไรได้ผลกับเรา และอะไรไม่ได้ผล ฟังจังหวะและทำนองของร่างกายคุณ และไม่ต้องรู้สึกแย่เพียงเพราะรู้ว่า มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) นอนวันละ 5 ชั่วโมง
เราอาจจะชอบการตื่นไปวิ่งตอนเช้า แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นคนที่คิดอะไรเจ๋งๆ ออกในตอนกลางดึก ก็สลับกันบ้าง ไม่ต้องเลือกเป็นนกน้อยหรือนกฮูกอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
อีกสิ่งสำคัญคือคุณต้องนิยามรูปแบบความสำเร็จของคุณให้ได้ด้วยตัวเองก่อน ตอบคำถามของตัวเองให้ได้ว่าหน้าตาความสำเร็จที่เรารอคอยเป็นอย่างไร อย่าให้ความกดดันจากการเห็นความสำเร็จของคนอื่นมาทำให้คุณไขว้เขว
รัก ยอมรับ และเข้าใจตัวเราเอง
ถ้าคุณเป็นหนึ่งในคนที่ถูกกดดันจากความโปรดักทีพที่สังคมรอบตัวเร่งเร้าให้เราต้องเป็น ไม่ต้องห่วง เพราะคุณไม่ใช่คนเดียวที่โดนพิษจากความโปรดักทีฟจนเกินควรนั้น วิธีเยียวยาตัวเองนั้นไม่ยาก แค่..
- เข้าใจจังหวะชีวิตและร่างกายของตัวเอง
- ออกแบบเครื่องมือสร้างความสำเร็จในแบบของตัวเอง เลือกเครื่องมือชีวิตที่เราถัดและใช้ได้คล่องมือที่สุดหัด
- ผ่อนปรนให้ตัวเองบ้าง อย่ากดดันจนเกินไป
ไม่ว่าคุณจะเป็นนกน้อยลุกขึ้นก่อนพระอาทิตย์ขึ้น หรือนกฮูกตื่นบ่าย หรือจะเป็นเสือ หมี โลมา ใดๆ ก็ตาม (แบบในหนังสือ ‘The Power of When’ อ่านรีวิวได้ที่นี่) รัก เข้าใจ และยอมรับในตัวเราซะ และอย่าให้คนอื่นมาบอกคุณว่าคุณต้องตื่นตอนไหน หรือทำอะไร
เพราะนั่นคือชีวิตเรา ไม่ใช่ชีวิตใคร
เคล็ดลับความสำเร็จที่ไม่เรื่องการตื่นตอนไหน อ่านต่อ
Source
อัปเดตคอร์สใหม่และส่วนลดคอร์สต่างๆ
Thank you!
Policy Pages
Copyright © 2022
รับสิทธิพิเศษก่อนใคร แอดไลน์ @shiftyourfuture