Automation อนาคตของงานที่ใช้ทักษะขั้นสูง

อย่างที่เราทราบกันดีว่า ปัจจุบันนี้มีหุ่นยนต์ AI (Artificial Intelligence) หรือแม้กระทั่งระบบ automation มากมายที่สามารถทำงานหรือกิจกรรมต่างๆ ได้ดีเทียบเท่าหรือทดแทนการทำงานของมนุษย์ได้แล้ว

ลองนึกภาพง่ายๆ และใกล้ตัวก็ได้เช่น ที่สนามบิน เราจะเห็นตู้คีออสก์ที่ให้บริการเช็คอินอัตโนมัติตั้งอยู่ใกล้ๆ เคาน์เตอร์เช็คอิน เพื่อช่วยลดภาระของพนักงาน การใช้เครื่องสแกนบาร์โค้ดตรวจพาสปอร์ตที่สนามบินทั้งก่อนเข้าและออกนอกประเทศ หรือเวลาที่นักบินนำเครื่องขึ้นไต่เพดานในระยะปลอดภัยแล้วก็จะใช้ระบบ autopilot เพื่อช่วยในการบิน เป็นต้น นี่แค่เรื่องที่เราพบโดยทั่วไปในชีวิตประจำวันนะ

แต่ต่อไปในอนาคต ผลกระทบจากระบบ automation เหล่านี้จะมีอะไรบ้าง? เศรษฐกิจในแต่ละด้านจะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่? เราจะรู้สึกว่ามีอิสระในการทำงานมากขึ้นหรือคุณภาพชีวิตในการทำงานดีขึ้นหรือเปล่า? หรือเราควรจะต้องกังวลกับการรุกล้ำของระบบอัตโนมัติที่ว่านี้กันแน่
Artificial intelligence AI research of robot and cyborg development for future of people living. Digital data mining and machine learning technology design for computer brain communication.

อนาคตของ การทำงานที่ใช้ทักษะขั้นสูง (high-skill work) จะเป็นแบบไหน?
เชื่อว่าหลายๆ คนน่าจะเริ่มตระหนักถึงผลลัพธ์จากการใช้ระบบ automation อย่างพวกหุ่นยนต์หรือเครื่องมือต่างๆ เข้ามาช่วยในการทำงานในแต่ละสาขาอาชีพกันบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นงานธรรมดาๆ หรืองานที่เสี่ยงอันตราย ที่ต้องอาศัยระบบอัตโนมัติเหล่านั้นมาช่วย  

แต่อีกมุมหนึ่ง เคยลองคิดกันมั้ยว่า จะเกิดอะไรขึ้นหากเจ้าระบบอัตโนมัติเหล่านั้นกำลังจะเข้ามาแทนที่งานที่ต้องใช้ทักษะขั้นสูงหรือ high-skill ของคนเรา เพราะบางที งานที่ใช้ทักษะขั้นสูงของมนุษย์ ก็อาจจะเป็นเรื่องง่ายสำหรับระบบออโตเมชั่น เหล่านั้นก็เป็นได้


ไม่กี่ปีมานี้ มีรายงานชิ้นหนึ่งจากวารสารของ McKinsey Quarterly (McKinsey and Company) ที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบจากการนำระบบ automation เข้ามาแทนที่ในการทำงาน ซึ่งใช้วิธีศึกษาแบบตรงไปตรงมา โดยดูจากงานสายอาชีพทั้งหมดกว่า 800 ด้าน แบ่งอาชีพเหล่านั้นออกเป็นประเภทตามกิจกรรม และความสามารถในการทำงานด้านนั้นๆ

โดยตั้งสมมติฐานว่า การนำระบบ automation เข้ามาใช้งานนั้น โดยส่วนใหญ่แล้วจะเกี่ยวข้องกับกิจกรรม ‘บางประเภท’ ของแต่ละอาชีพนั้นๆ มากกว่าการที่จะมาแทนที่ตัวอาชีพไปอย่างสิ้นเชิง

ยกตัวอย่างเรื่อง การดูแลรักษาบ้าน ที่พบว่าในปัจจุบันได้มีการนำระบบออโตเมชั่น เข้ามาช่วยในเรื่องของการล้างจาน หรือ การดูดฝุ่น แต่ท้ายที่สุดแล้วอาชีพแม่บ้านก็ยังไม่ได้หายไปไหน นั่นก็แปลว่าในตอนนี้ยังไม่มีหุ่นยนต์ประเภทใดเลยที่สามารถมาทำหน้าที่ทุกๆ อย่างเหมือนกับที่มนุษย์ทำได้

ผลการศึกษายังพบด้วยว่า 45% ของกิจกรรมกว่า 2,000 กิจกรรม ที่ต้องใช้ทักษะเฉพาะในการทำงาน ได้มีการใช้ระบบออโตเมชั่น เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่ 13% ของกิจกรรมทั้งหมดนั้นสามารถเปลี่ยนไปใช้ระบบหุ่นยนต์ได้เลย

ซึ่งกิจกรรมเหล่านั้นยังสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท เรียกง่ายๆ ว่า แบ่งตามความสามารถเฉพาะทาง โดยพบว่า มีความสามารถเฉพาะด้านถึง 18 อย่างที่ปรากฎอยู่ใน 3 กลุ่มกิจกรรมหลัก ประกอบไปด้วยกิจกรรมด้านสังคม ด้านความคิด และด้านกายภาพ โดยแบ่งตามรายละเอียดดังนี้

ด้านสังคม (Social)
– การเข้าสังคมและการรับรู้ด้านอารมณ์
– การเข้าสังคมและการมีเหตุและผล
– ด้านอารมณ์และสังคมภายนอก

ด้านความคิด (Cognitive)
– เข้าใจภาษาธรรมชาติ
– สร้างและผลิตภาษาธรรมชาติได้
– กู้คืนข้อมูลต่างๆ
– จดจำรูปแบบ (pattern) และหมวดหมู่ได้
– แก้ปัญหาโดยใช้ตรรกะ
– วางแผนเป็นขั้นเป็นตอน
– มีความคิดสร้างสรรค์
– เรียบเรียงผลลัพธ์ (output) ออกมาได้
– ประสานงานกับหลากหลายหน่วยงาน

ด้านกายภาพ (Physical)
แต่ถ้าจะพูดกันจริงๆ แล้ว งานทั่วไปอย่างการทำความสะอาดบ้าน ก็ไม่เชิงเข้าข่ายอาชีพด้าน automating เสมอไป เพราะจริงๆ แล้วระบบออโตเมชั่น มักจะใช้กับงานที่ต้องใช้ทักษะขั้นสูงหรืองานที่ต้องใช้ความสามารถเฉพาะทางแบบมืออาชีพเสียมากกว่า

ยกตัวอย่างเช่น การผ่าตัด เราจะพบว่า แม้ในปัจจุบันจะมีการใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ Da Vinci ในการผ่าตัด ซึ่งทำให้แพทย์สามารถทำการผ่าตัดได้หลากหลายรูปแบบ แต่การมีศัลยแพทย์ที่เชี่ยวชาญและมีความสามารถก็ยังสำคัญกว่าอยู่ดี แน่นอนว่าระบบเทคโนโลยีเหล่านั้นอาจจะมีตัวรับสัญญาณที่เลิศล้ำหรือมีตัวขับเคลื่อนที่คล่องแคล่วว่องไว แต่ถ้าเทียบกับหมอผ่าตัดจริงๆ ที่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับคนในทีมหรือสามารถใช้ความรู้สึกและเหตุผลเพื่อรับมือกับปัญหาเฉพาะหน้าที่อาจเกิดขึ้นได้แล้วละก็  

พบว่าระบบออโตเมชั่น ในการผ่าตัดเป็นแค่การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยหมอผ่าตัดเสียมากกว่าการจะเข้ามาแทนที่อาชีพหมอผ่าตัดในอนาคต

ว่าแต่ อีกนานแค่ไหน กว่าระบบออโตเมชั่น หล่านี้จะเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องหรือแทนที่ความสามารถต่างๆ ของมนุษย์ได้จริงๆ?

คำถามนี้ยังไม่สามารถตอบได้แน่ชัด เพราะศักยภาพของหุ่นยนต์ยังอาจจะไปไม่ถึงศักยภาพของมนุษย์

แต่อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้ ก็กำลังใช้เวลาศึกษาและพัฒนาความสามารถหุ่นยนต์ใน 2 ด้านใหญ่ๆ นั่นก็คือ


Robot User ซึ่งเป็นเรื่องของการศึกษาและหาข้อมูลว่า งานแบบไหนที่หุ่นยนต์สามารถทำได้หรือทำไม่ได้ ซึ่งจะช่วยให้เหล่าผู้เชี่ยวชาญเข้าใจระบบหุ่นยนต์ได้มากขึ้น มากไปกว่านั้นการที่จะพัฒนาระบบออโตเมชั่น ให้เข้ามาใช้ในสายอาชีพต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญก็ควรต้องเตรียมพร้อมและเตรียมรับมือกับข้อเรียกร้องของกลุ่มงานที่ใช้ทักษะขั้นสูงในการทำงานด้วย เพราะบางครั้งพวกเขาอาจจะมีปัญหากับการต้องทำงานร่วมกับระบบที่อาจจะมาแทนที่พวกเขาในอนาคตได้

Robot Teacher การพัฒนาและช่วยให้หุ่นยนต์สามารถทำงานที่ซับซ้อนได้ถือว่าเป็นทักษะที่จะมีความจำเป็นอย่างมากในอนาคต ซึ่งการที่จะทำอย่างนั้นได้ เหล่าผู้เชี่ยวชาญต้องทำความเข้าใจจริงๆ ถึงความละเอียดอ่อนของการใช้ทักษะสำคัญในการทำงานอย่างเช่น ความคิดสร้างสรรค์ (หรือทักษะ 18 อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น) นอกจากนั้นเหล่าผู้เชี่ยวชาญต้องก้าวข้ามประเด็นของความกังวลและการต่อต้านของกลุ่มคนที่ทำงานที่ใช้ทักษะขั้นสูงด้วย เพราะพวกเขามักจะคิดว่า งานที่พวกเขาทำอยู่คืองานที่ใช้ทักษะพิเศษ ไม่ใช่ว่าใครๆ ก็สามารถทำได้นั่นเอง

อย่างที่บอกว่า ยังไม่มีใครที่สามารถคาดเดาเวลาได้อย่างแน่ชัดว่าระบบออโตเมชั่น เหล่านี้จะเข้ามาแทนที่การทำงานได้สมบูรณ์เมื่อไหร่ แต่ความเป็นไปได้ก็คือ

อีก 10 ปีต่อจากนี้ อาชีพที่จัดว่าเป็น high-skill จะถูกแบ่งออกเป็นสัดส่วนย่อยๆ  เพื่อที่หุ่นยนต์ที่มีศักยภาพจะเข้ามาช่วยทำงานเหล่านั้นได้ เราทุกคนจึงมีหน้าที่เตรียมตัวให้พร้อมเมื่อเวลานั้นมาถึง

ที่มา https://medium.com/@tomguarriello/the-future-of-high-skill-work-b17512cee5f8
Created with