5 คำถามกับ ดร.ปัง | Designing Your Life ออกแบบชีวิตให้ลงตัว
5 คำถามด้านการออกแบบชีวิต กับ ดร.ปัง เพิ่มสิทธิ์ นำประสิทธิผล
หลายคนน่าจะคุ้นเคยกันดี กับ ดร.เพิ่มสิทธิ์ นําประสิทธิผล หรือ ดร.ปัง ในฐานะวิทยากรชื่อดังและงานชุกที่สุดคนหนึ่งในยุคนี้ เพราะคอร์สที่ชื่อ Designing Your Life หรือ การออกแบบชีวิต ที่เขาเปิดอบรมในหลายต่อหลายที่ เป็นคอร์สที่เรียกได้ว่าเปิดเมื่อไหร่ก็เต็มเร็วมาก หลายคนบอกว่า ช่างเป็นคอร์สที่ราวกับออกแบบมาเพื่อคนที่พยายามหาคำตอบและทิศทางให้ชีวิตโดยแท้
หลายคนน่าจะคุ้นเคยกันดี กับ ดร.เพิ่มสิทธิ์ นําประสิทธิผล หรือ ดร.ปัง ในฐานะวิทยากรชื่อดังและงานชุกที่สุดคนหนึ่งในยุคนี้ เพราะคอร์สที่ชื่อ Designing Your Life หรือ การออกแบบชีวิต ที่เขาเปิดอบรมในหลายต่อหลายที่ เป็นคอร์สที่เรียกได้ว่าเปิดเมื่อไหร่ก็เต็มเร็วมาก หลายคนบอกว่า ช่างเป็นคอร์สที่ราวกับออกแบบมาเพื่อคนที่พยายามหาคำตอบและทิศทางให้ชีวิตโดยแท้
ว่าแต่การออกแบบชีวิตคืออะไร ? ทำไมต้องออกแบบ ?
คำถามนี้ เป็นสิ่งที่ ดร.ปัง ก็ยอมรับว่า ก่อนหน้านี้เขาก็พยายามหาคำตอบมาแล้วเช่นกัน เริ่มจากการศึกษาด้วยตัวเองจนกระทั่งหลงใหลในวิชานี้มากพอที่จะบินข้ามน้ำข้ามทะเลไปที่สหรัฐอเมริกา เพื่อเข้าอบรมกับ บิลล์ เบอร์เน็ตต์ ผู้คิดค้นหลักสูตร Designing Your Life ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และยังเป็นหนึ่งในผู้เขียนหนังสือเบสต์เซลเลอร์ในชื่อเดียวกันคือ Designing Your Life (Bill Burnett และ Dave Evans)
พูดได้ว่า ด้วยความรักในวิชานี้ทำให้ ดร.ปัง สนใจอยากเผยแพร่ความรู้นี้ในเมืองไทยบ้าง จนนำพาไปสู่การได้เป็น Licensee ของหลักสูตร Designing Your Life เพียงหนึ่งในสองคนของประเทศไทยที่สามารถเปิดการอบรมภายใต้ชื่อหลักสูตรดังกล่าวได้อย่างถูกลิขสิทธิ์ทุกประการ ที่สำคัญ เขาเป็นหนึ่งในวิทยากรที่จะมาเปิดอบรมที่ Shift Academy ด้วยหลักสูตรที่ออกแบบมาเพื่อช่วย Shift ทิศทางที่เหมาะสมให้กับชีวิตคุณโดยเฉพาะ
1. คุณสนใจเรื่องการออกแบบชีวิตหรือ Designing Your Life ตอนไหน เพราะอะไร
เพราะคิดว่ามันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคน แม้จะเห็นว่าวิชานี้ใช้เพื่อสร้างนวัตกรรมเป็นหลัก แต่สุดท้ายแล้วมันก็กลับมาพูดเรื่องคน ทำความเข้าใจคน เพื่อที่จะออกแบบนวัตกรรมให้เหมาะกับความต้องการของคน
เรื่องนี้มีที่มาจากการที่ผมเป็นเพื่อนกับต้อง กวีวุฒิ (เจ้าของเพจแปดบรรทัดครึ่ง) มาก่อน แล้วตอนที่ต้องเขาจบจากสแตนฟอร์ดใหม่ๆ เขาก็อยากนำเรื่อง Design Thinking (การคิดเชิงออกแบบ) มากระจายให้คนได้เรียนรู้ในเมืองไทย ก็ไปช่วยเขาสอน ไปสอนตามมหาวิทยาลัยต่างๆ
พอสอนแล้วเราก็อินกับเรื่องนี้ เพราะคิดว่ามันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคน แม้จะเห็นว่าวิชานี้ใช้เพื่อสร้างนวัตกรรมเป็นหลัก แต่สุดท้ายแล้วมันก็กลับมาพูดเรื่องคน ทำความเข้าใจคน เพื่อที่จะออกแบบนวัตกรรมให้เหมาะกับความต้องการของคน
ผมชอบที่ต้องเขาพูดว่า สิ่งที่ต่างกันระหว่างสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมก็คือ สิ่งประดิษฐ์ เกิดจากคุณอยากสร้างอะไรคุณก็สร้างอาจจะไม่ต้องคำนึงถึงคนใช้งาน แต่นวัตกรรมคือ คุณต้องเข้าใจคนก่อน คุณถึงจะประดิษฐ์สิ่งของขึ้นมาได้ ก็เลยรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องของจิตวิทยาพอสมควร เลยชอบเรื่องนี้มาก
อีกเรื่องคือ ตัว Design Thinking มันเปิดโอกาสให้คนได้ลองผิดลองถูก เน้นปริมาณให้ออกมาเยอะๆ ก่อน ยังไม่ต้องคำนึงถึงคุณภาพว่าต้องดีที่สุด ซึ่งมันกลับกันกับที่เราเรียนรู้มาตอนเด็ก ๆ ว่า จะทำอะไรออกไปต้องคิดแล้วคิดอีกให้มันสมบูรณ์แบบ
แต่วิธีของ Design Thinking คือ ทำเยอะๆ ทำให้เร็ว แล้วเอาฟีดแบ็กที่ได้มารวบรวมเพื่อปั้นเป็นผลงานจริง ๆ จากนั้นด้วยความที่เราเป็นคนชอบอ่านหนังสือ แล้วมีคนบอกว่ามีหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ Designing Your Life ของบิลล์ เบอร์เน็ตต์ เราก็ไปอ่านเพราะมันเป็นเรื่องการเอาวิธีคิดแบบ Design Thinking มาใช้กับคน พออ่านเสร็จแล้วก็ชอบ เลยเถิด (หัวเราะ) ติดตามผลงานของคนเขียนไปเรื่อยๆ พอเขาประกาศว่าจะเปิดคอร์สสอนแบบเวิร์คชอปที่อเมริกา โดยเปิดให้เรียน certified coach ผมก็บินไปเรียนอีก แล้วก็ถามเจ้าของหลักสูตรคือบิลล์ เบอร์เน็ต หนึ่งในผู้แต่ง Designing Your Life นี่แหละว่า เขาสนใจการมาเปิดคอร์สสอนที่เมืองไทยมั้ย
จนปีที่แล้วก็เชิญเขามาพูดที่เมืองไทยได้ กระทั่งได้เป็นพาร์ทเนอร์กันมาจนถึงวันนี้ และได้เป็นหนึ่งในสองของ Licensee ของเขาที่เมืองไทย อีกเจ้าเขาได้ Licensee ภายใต้ชื่อมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ส่วนผมได้จากตัวของบิลล์ ที่เป็นคนคิดค้นหลักสูตรเลย
2. ทำไมต้องเรียนวิชา Designing Your Life
จริง ๆ แล้วผู้ใหญ่หลายคนก็ไม่รู้ว่าชีวิตเราจะไปทางไหนดี และสิ่งที่เราเรียนรู้อีกอย่างก็คือ คนส่วนใหญ่มักจะอยู่ใน default โหมด คือเช่นเรียนจบด้านไหนมา ก็ทำด้านนั้น เคยทำอะไรมาก็ทำแบบนั้น
ก่อนหน้านี้ ผมเคยถามบิลล์ เหมือนกันว่าทำไมถึงคิดวิชานี้ออกมา บิลล์ เล่าว่า เขาสอนที่ d.school สแตนฟอร์ดมา 20 กว่าปีละ แล้วตลอดเวลาที่สอนที่นั่น ก็จะมีนักศึกษาจำนวนมากมาปรึกษาเขาและ 80% ของนักเรียนที่มาถาม จะไม่ได้ถามเรื่องการบ้าน หรือการเรียนในห้องเลย แต่ถามเรื่องชีวิต
ซึ่งผมชอบใช้คำว่า สิ่งเหล่านี้คือ คำสาปคนฉลาด เพราะเด็กที่เรียนที่สแตนฟอร์ด คือเด็กที่เก่งมาก ดังนั้นให้เขาทำอะไรก็ตาม เขาจะมีแนวโน้มที่จะทำได้อยู่แล้ว แต่ประเด็นคือ พอครอบครัวคิดว่าเขาเก่งแล้ว ก็ปล่อยเลย ยิ่งพอมาเรียนมหาวิทยาลัยก็เหมือนไม่มีที่ปรึกษา บางทีเข้ามาเรียนแล้วไม่ชอบ ก็ไม่รู้จะทำยังไงต่อ
เด็กพวกนี้ จะมาปรึกษาบิลล์ เพราะเหมือนเขาไม่รู้จะทำยังไงกับชีวิต เรียนมาจะจบแล้วยังไม่เจอสิ่งที่เหมาะกับชีวิตเลย ไม่รู้จะทำอะไรต่อ บิลล์ก็เลยให้คำแนะนำไป ซึ่งจุดที่เขาเน้นก็คือเรื่องการลองผิดลองถูก มาขยายให้เป็นคอร์สเรียนขึ้นมาจะได้ไม่ต้องไปให้คำปรึกษาทีละคน จากนั้นนี่ก็เลยกลายเป็นคอร์สที่คนสแตนฟอร์ดต่อคิวเรียนเยอะมาก จากนั้นเขาก็ค่อยออกหนังสือ
ตอนแรกกะว่าจะจับกลุ่มครูที่สอนเด็ก ๆ เพราะคิดว่าครูน่าจะได้ใช้แนะแนว แต่ปรากฏว่ามันขายดีมาก ใคร ๆ ก็ซื้อมาอ่าน ผู้ใหญ่หลายคนก็ซื้อ นั่นทำให้เรารู้ว่า จริง ๆ แล้วผู้ใหญ่หลายคนก็ไม่รู้ว่าชีวิตเราจะไปทางไหนดี และสิ่งที่เราเรียนรู้อีกอย่างก็คือ คนส่วนใหญ่มักจะอยู่ใน default โหมด คือเช่นเรียนจบด้านไหนมา ก็ทำด้านนั้น เคยทำอะไรมาก็ทำแบบนั้น
3. สิ่งที่เปลี่ยนโลกคุณไปเลยหลังจากไปเรียน Designing Your Life
work-life balance มันไม่มีอยู่จริง หลักการของการออกแบบชีวิตคือ ชีวิตเราไม่จำเป็นต้องบาลานซ์หรือสมดุลขนาดนั้น มันขึ้นอยู่กับว่า ช่วงเวลานั้นของชีวิตคุณให้ความสำคัญกับอะไร การที่คุณไปมุ่งหวังว่าจะสมดุล มันจะทำให้คุณเครียดอยู่ตลอดเวลา
มีเรื่องใหญ่ๆ ที่ผมชอบอยู่สองเรื่องคือ work-life balance ซึ่งเขาบอกว่ามันไม่มีอยู่จริง (หัวเราะ) ทั้งที่เมื่อก่อนเราจะคิดในใจตลอดว่าทำยังไงสองเรื่องนี้ถึงจะสมดุล ชีวิตเราไม่มีความสุขเพราะ work-life balance ไม่ดีหรือเปล่านะ
แต่เมื่อเรียนรู้ Designing Your Life เขาจะบอกว่า มันไม่มีจริงหรอก เพราะถ้าเรามองอะไรเป็นสองฝั่ง มันจะเหมือนไม้กระดก ถ้าฝั่งหนึ่งมาก อีกฝั่งก็จะน้อยลงโดยอัตโนมัติ แต่ หลักการของการออกแบบชีวิตคือ ชีวิตเราไม่จำเป็นต้องบาลานซ์หรือสมดุลขนาดนั้น มันขึ้นอยู่กับว่า ช่วงเวลานั้นของชีวิตคุณให้ความสำคัญกับอะไร การที่คุณไปมุ่งหวังว่าจะสมดุล มันจะทำให้คุณเครียดอยู่ตลอดเวลา เพราะคุณจะคิดว่า เอ๊ะ ฉันทำงานมากไปหรือเปล่า หรือเล่นมากไปหรือเปล่า
ทั้ง ๆ ที่ถ้าเป็นช่วงที่เราก่อตั้งบริษัท เราก็อาจจะต้องทำงานหนักอยู่แล้วเป็นปกติ นอกจากนั้นในอีกมุมคือ ชีวิตเราไม่ได้มีแค่เรื่อง งาน กับ ชีวิต แค่นั้นนะ จริง ๆ เรายังต้องมีเรื่องความสัมพันธ์กับคนอื่น เรื่องสุขภาพกาย สุขภาพจิต แง่มุมเหล่านี้เราก็ต้องใส่ใจด้วยเพื่อให้เรามีความสุขภาพรวม ผมว่าเรื่องนี้แหละที่มันเปิดมุมมองให้ผม เพราะเอาจริง ๆ นะ พอผมรู้สึกว่า work-life balance ไม่มีจริง ผมรู้สึกโล่ง (หัวเราะ) เพราะแปลว่าเราไม่ได้เครียดอยู่คนเดียว มีคนเครียดเรื่องเดียวกันนี้เป็นจำนวนมาก
คำถามนี้ เป็นสิ่งที่ ดร.ปัง ก็ยอมรับว่า ก่อนหน้านี้เขาก็พยายามหาคำตอบมาแล้วเช่นกัน เริ่มจากการศึกษาด้วยตัวเองจนกระทั่งหลงใหลในวิชานี้มากพอที่จะบินข้ามน้ำข้ามทะเลไปที่สหรัฐอเมริกา เพื่อเข้าอบรมกับ บิลล์ เบอร์เน็ตต์ ผู้คิดค้นหลักสูตร Designing Your Life ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และยังเป็นหนึ่งในผู้เขียนหนังสือเบสต์เซลเลอร์ในชื่อเดียวกันคือ Designing Your Life (Bill Burnett และ Dave Evans)
พูดได้ว่า ด้วยความรักในวิชานี้ทำให้ ดร.ปัง สนใจอยากเผยแพร่ความรู้นี้ในเมืองไทยบ้าง จนนำพาไปสู่การได้เป็น Licensee ของหลักสูตร Designing Your Life เพียงหนึ่งในสองคนของประเทศไทยที่สามารถเปิดการอบรมภายใต้ชื่อหลักสูตรดังกล่าวได้อย่างถูกลิขสิทธิ์ทุกประการ ที่สำคัญ เขาเป็นหนึ่งในวิทยากรที่จะมาเปิดอบรมที่ Shift Academy ด้วยหลักสูตรที่ออกแบบมาเพื่อช่วย Shift ทิศทางที่เหมาะสมให้กับชีวิตคุณโดยเฉพาะ
1. คุณสนใจเรื่องการออกแบบชีวิตหรือ Designing Your Life ตอนไหน เพราะอะไร
เพราะคิดว่ามันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคน แม้จะเห็นว่าวิชานี้ใช้เพื่อสร้างนวัตกรรมเป็นหลัก แต่สุดท้ายแล้วมันก็กลับมาพูดเรื่องคน ทำความเข้าใจคน เพื่อที่จะออกแบบนวัตกรรมให้เหมาะกับความต้องการของคน
เรื่องนี้มีที่มาจากการที่ผมเป็นเพื่อนกับต้อง กวีวุฒิ (เจ้าของเพจแปดบรรทัดครึ่ง) มาก่อน แล้วตอนที่ต้องเขาจบจากสแตนฟอร์ดใหม่ๆ เขาก็อยากนำเรื่อง Design Thinking (การคิดเชิงออกแบบ) มากระจายให้คนได้เรียนรู้ในเมืองไทย ก็ไปช่วยเขาสอน ไปสอนตามมหาวิทยาลัยต่างๆ
พอสอนแล้วเราก็อินกับเรื่องนี้ เพราะคิดว่ามันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคน แม้จะเห็นว่าวิชานี้ใช้เพื่อสร้างนวัตกรรมเป็นหลัก แต่สุดท้ายแล้วมันก็กลับมาพูดเรื่องคน ทำความเข้าใจคน เพื่อที่จะออกแบบนวัตกรรมให้เหมาะกับความต้องการของคน
ผมชอบที่ต้องเขาพูดว่า สิ่งที่ต่างกันระหว่างสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมก็คือ สิ่งประดิษฐ์ เกิดจากคุณอยากสร้างอะไรคุณก็สร้างอาจจะไม่ต้องคำนึงถึงคนใช้งาน แต่นวัตกรรมคือ คุณต้องเข้าใจคนก่อน คุณถึงจะประดิษฐ์สิ่งของขึ้นมาได้ ก็เลยรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องของจิตวิทยาพอสมควร เลยชอบเรื่องนี้มาก
อีกเรื่องคือ ตัว Design Thinking มันเปิดโอกาสให้คนได้ลองผิดลองถูก เน้นปริมาณให้ออกมาเยอะๆ ก่อน ยังไม่ต้องคำนึงถึงคุณภาพว่าต้องดีที่สุด ซึ่งมันกลับกันกับที่เราเรียนรู้มาตอนเด็ก ๆ ว่า จะทำอะไรออกไปต้องคิดแล้วคิดอีกให้มันสมบูรณ์แบบ
แต่วิธีของ Design Thinking คือ ทำเยอะๆ ทำให้เร็ว แล้วเอาฟีดแบ็กที่ได้มารวบรวมเพื่อปั้นเป็นผลงานจริง ๆ จากนั้นด้วยความที่เราเป็นคนชอบอ่านหนังสือ แล้วมีคนบอกว่ามีหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ Designing Your Life ของบิลล์ เบอร์เน็ตต์ เราก็ไปอ่านเพราะมันเป็นเรื่องการเอาวิธีคิดแบบ Design Thinking มาใช้กับคน พออ่านเสร็จแล้วก็ชอบ เลยเถิด (หัวเราะ) ติดตามผลงานของคนเขียนไปเรื่อยๆ พอเขาประกาศว่าจะเปิดคอร์สสอนแบบเวิร์คชอปที่อเมริกา โดยเปิดให้เรียน certified coach ผมก็บินไปเรียนอีก แล้วก็ถามเจ้าของหลักสูตรคือบิลล์ เบอร์เน็ต หนึ่งในผู้แต่ง Designing Your Life นี่แหละว่า เขาสนใจการมาเปิดคอร์สสอนที่เมืองไทยมั้ย
จนปีที่แล้วก็เชิญเขามาพูดที่เมืองไทยได้ กระทั่งได้เป็นพาร์ทเนอร์กันมาจนถึงวันนี้ และได้เป็นหนึ่งในสองของ Licensee ของเขาที่เมืองไทย อีกเจ้าเขาได้ Licensee ภายใต้ชื่อมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ส่วนผมได้จากตัวของบิลล์ ที่เป็นคนคิดค้นหลักสูตรเลย
2. ทำไมต้องเรียนวิชา Designing Your Life
จริง ๆ แล้วผู้ใหญ่หลายคนก็ไม่รู้ว่าชีวิตเราจะไปทางไหนดี และสิ่งที่เราเรียนรู้อีกอย่างก็คือ คนส่วนใหญ่มักจะอยู่ใน default โหมด คือเช่นเรียนจบด้านไหนมา ก็ทำด้านนั้น เคยทำอะไรมาก็ทำแบบนั้น
ก่อนหน้านี้ ผมเคยถามบิลล์ เหมือนกันว่าทำไมถึงคิดวิชานี้ออกมา บิลล์ เล่าว่า เขาสอนที่ d.school สแตนฟอร์ดมา 20 กว่าปีละ แล้วตลอดเวลาที่สอนที่นั่น ก็จะมีนักศึกษาจำนวนมากมาปรึกษาเขาและ 80% ของนักเรียนที่มาถาม จะไม่ได้ถามเรื่องการบ้าน หรือการเรียนในห้องเลย แต่ถามเรื่องชีวิต
ซึ่งผมชอบใช้คำว่า สิ่งเหล่านี้คือ คำสาปคนฉลาด เพราะเด็กที่เรียนที่สแตนฟอร์ด คือเด็กที่เก่งมาก ดังนั้นให้เขาทำอะไรก็ตาม เขาจะมีแนวโน้มที่จะทำได้อยู่แล้ว แต่ประเด็นคือ พอครอบครัวคิดว่าเขาเก่งแล้ว ก็ปล่อยเลย ยิ่งพอมาเรียนมหาวิทยาลัยก็เหมือนไม่มีที่ปรึกษา บางทีเข้ามาเรียนแล้วไม่ชอบ ก็ไม่รู้จะทำยังไงต่อ
เด็กพวกนี้ จะมาปรึกษาบิลล์ เพราะเหมือนเขาไม่รู้จะทำยังไงกับชีวิต เรียนมาจะจบแล้วยังไม่เจอสิ่งที่เหมาะกับชีวิตเลย ไม่รู้จะทำอะไรต่อ บิลล์ก็เลยให้คำแนะนำไป ซึ่งจุดที่เขาเน้นก็คือเรื่องการลองผิดลองถูก มาขยายให้เป็นคอร์สเรียนขึ้นมาจะได้ไม่ต้องไปให้คำปรึกษาทีละคน จากนั้นนี่ก็เลยกลายเป็นคอร์สที่คนสแตนฟอร์ดต่อคิวเรียนเยอะมาก จากนั้นเขาก็ค่อยออกหนังสือ
ตอนแรกกะว่าจะจับกลุ่มครูที่สอนเด็ก ๆ เพราะคิดว่าครูน่าจะได้ใช้แนะแนว แต่ปรากฏว่ามันขายดีมาก ใคร ๆ ก็ซื้อมาอ่าน ผู้ใหญ่หลายคนก็ซื้อ นั่นทำให้เรารู้ว่า จริง ๆ แล้วผู้ใหญ่หลายคนก็ไม่รู้ว่าชีวิตเราจะไปทางไหนดี และสิ่งที่เราเรียนรู้อีกอย่างก็คือ คนส่วนใหญ่มักจะอยู่ใน default โหมด คือเช่นเรียนจบด้านไหนมา ก็ทำด้านนั้น เคยทำอะไรมาก็ทำแบบนั้น
3. สิ่งที่เปลี่ยนโลกคุณไปเลยหลังจากไปเรียน Designing Your Life
work-life balance มันไม่มีอยู่จริง หลักการของการออกแบบชีวิตคือ ชีวิตเราไม่จำเป็นต้องบาลานซ์หรือสมดุลขนาดนั้น มันขึ้นอยู่กับว่า ช่วงเวลานั้นของชีวิตคุณให้ความสำคัญกับอะไร การที่คุณไปมุ่งหวังว่าจะสมดุล มันจะทำให้คุณเครียดอยู่ตลอดเวลา
มีเรื่องใหญ่ๆ ที่ผมชอบอยู่สองเรื่องคือ work-life balance ซึ่งเขาบอกว่ามันไม่มีอยู่จริง (หัวเราะ) ทั้งที่เมื่อก่อนเราจะคิดในใจตลอดว่าทำยังไงสองเรื่องนี้ถึงจะสมดุล ชีวิตเราไม่มีความสุขเพราะ work-life balance ไม่ดีหรือเปล่านะ
แต่เมื่อเรียนรู้ Designing Your Life เขาจะบอกว่า มันไม่มีจริงหรอก เพราะถ้าเรามองอะไรเป็นสองฝั่ง มันจะเหมือนไม้กระดก ถ้าฝั่งหนึ่งมาก อีกฝั่งก็จะน้อยลงโดยอัตโนมัติ แต่ หลักการของการออกแบบชีวิตคือ ชีวิตเราไม่จำเป็นต้องบาลานซ์หรือสมดุลขนาดนั้น มันขึ้นอยู่กับว่า ช่วงเวลานั้นของชีวิตคุณให้ความสำคัญกับอะไร การที่คุณไปมุ่งหวังว่าจะสมดุล มันจะทำให้คุณเครียดอยู่ตลอดเวลา เพราะคุณจะคิดว่า เอ๊ะ ฉันทำงานมากไปหรือเปล่า หรือเล่นมากไปหรือเปล่า
ทั้ง ๆ ที่ถ้าเป็นช่วงที่เราก่อตั้งบริษัท เราก็อาจจะต้องทำงานหนักอยู่แล้วเป็นปกติ นอกจากนั้นในอีกมุมคือ ชีวิตเราไม่ได้มีแค่เรื่อง งาน กับ ชีวิต แค่นั้นนะ จริง ๆ เรายังต้องมีเรื่องความสัมพันธ์กับคนอื่น เรื่องสุขภาพกาย สุขภาพจิต แง่มุมเหล่านี้เราก็ต้องใส่ใจด้วยเพื่อให้เรามีความสุขภาพรวม ผมว่าเรื่องนี้แหละที่มันเปิดมุมมองให้ผม เพราะเอาจริง ๆ นะ พอผมรู้สึกว่า work-life balance ไม่มีจริง ผมรู้สึกโล่ง (หัวเราะ) เพราะแปลว่าเราไม่ได้เครียดอยู่คนเดียว มีคนเครียดเรื่องเดียวกันนี้เป็นจำนวนมาก
4. การวางแผนชีวิตต้องทำอย่างไรบ้าง
Designing Your Life เขาจะให้ออกแบบ 3 แผนเลย แผนแรกคือ 5 ปีข้างหน้า เราอยากทำอะไร แผนสอง ให้คิดสถานการณ์ว่าถ้าไม่มีงานในแบบที่เราทำอยู่แล้วในโลกใบนี้ เแล้วจะทำอะไรดี แผนที่สามคือ ถ้ามีเงินไม่จำกัด และไม่ต้องกลัวคนนินทาว่ามีเงินแล้วทำอะไรก็ได้ เราจะทำอะไรดี เช่น แต่ไม่ได้ให้เลือกนะ คิดมาเพื่อมาดูว่าจริง ๆ แล้วคืออะไรคือศักยภาพหรือความสนใจที่ซ่อนอยู่ของเรา
เป็นอีกเรื่องที่ผมสนใจตอนที่ได้ไปเรียน เพราะเขาจะสอนเรื่องการวางแผนชีวิตในอีก 5 ปีข้างหน้า ที่เป็นแบบนี้เพราะ 10 มันยาวไป 2 ปีมันก็สั้นเกินไปที่จะคิดอะไรได้ ดังนั้น 5 ปีนี่แหละที่พอดี ๆ แต่สิ่งที่ดีคือในวิชานี้ เขาจะไม่ให้เราออกแบบแผนชีวิตแค่แผนเดียว และเท่าที่ผมไปถามๆ มา หลายคนก็ไม่ได้วางแผนอะไรยาวๆ ส่วนใหญ่ก็มองไว้แค่ปีเดียว หรือมองแค่ต้นปีเป็น new year resolution และไม่ได้มีแผนเยอะ
แต่เมื่อมาเรียน Designing Your Life เขาจะให้ออกแบบ 3 แผนเลย แผนแรกคือวางแผนไปเลย 5 ปีข้างหน้า เราอยากทำอะไร แผนสอง ให้คิดสถานการณ์ว่า ถ้าไม่มีงานในแบบที่เราทำอยู่แล้วในโลกใบนี้ เช่น สำหรับผมคือ ถ้าไม่มีงานจิตวิทยาในโลกใบนี้จะทำอะไร ผมก็ต้องไปคิดแล้วว่าจะทำอะไรดี แผนที่สามคือ ถ้ามีเงินไม่จำกัด และไม่ต้องกลัวคนนินทาว่ามีเงินแล้วทำอะไรก็ได้ แบบนี้เราจะทำอะไรดี เช่น อยากเปิดร้านสัก แต่จบด็อกเตอร์มา ก็ไม่เป็นไร ก็วางแผนเปิดร้านสักไปเลย เขาจะให้เราคิดมาสามแผน แต่ไม่ได้ให้เลือกนะ คิดมาเพื่อมาดูว่าจริง ๆ แล้วคืออะไรคือศักยภาพหรือความสนใจที่ซ่อนอยู่ของเรา
คนส่วนใหญ่จะไม่กล้าคิดแผนสองแผนสาม ไม่กล้าคิดนอกกรอบ แต่วิธีนี้จะช่วยให้เราคิด ซึ่งไปตรงกับหลัก Ideate ของการคิดเชิงออกแบบ เพราะมันจะทำให้เราคิดให้ได้เยอะๆ แล้วค่อยเอามากางดูว่าเราสนใจอะไร เช่น จริง ๆ เราอยากเขียนหนังสือนะ ต่อให้มีเงินไม่จำกัด เราก็ยังอยากเขียนหนังสือ มันก็จะทำให้เราหยิบประเด็นนี้มาให้ความสำคัญ ทำให้เรามีตัวเลือกมากขึ้น เป็นต้น
5. ทำไมชีวิตต้องมีการออกแบบ
ทุกอย่างที่เราปฏิสัมพันธ์ด้วยรอบตัว เกิดจากการออกแบบทั้งนั้น ไม่ว่าจะเก้าอี้ที่เรานั่ง แก้วกาแฟที่เรากิน ของทุกอย่างถูกออกแบบมาหมดเพราะต้องการให้เหมาะกับคนใช้ แต่คนส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยออกแบบชีวิตตัวเอง เพราะเราใช้ชีวิตตัวเองในหมวด default ตั้งค่าเริ่มต้นไว้แบบไหนก็แบบนั้น
ผมชอบคำที่คุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เคยบอกไว้ เพราะแกเป็นแฟนหนังสือเล่มนี้เหมือนกัน แกบอกว่า ของทุกอย่างที่เราปฏิสัมพันธ์ด้วยรอบตัว เกิดจากการออกแบบทั้งนั้น ไม่ว่าจะเก้าอี้ที่เรานั่ง แก้วกาแฟที่เรากิน ของทุกอย่างถูกออกแบบมาหมดเพราะต้องการให้เหมาะกับคนใช้
แต่คนส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยออกแบบชีวิตตัวเอง เพราะเราใช้ชีวิตตัวเองในหมวด default คือตั้งค่าเริ่มต้นไว้แบบไหนก็แบบนั้น เช่น เป็นผู้ใหญ่ก็ต้องทำงาน ทำงานไม่สนุกแล้วทำไงดี ซึ่งก็เป็นเรื่องปกตินะครับ เพราะความสนุกเป็นเรื่องของเด็ก ผมก็เลยรู้สึกว่า วิชานี้น่าสนุกในแง่ของคนสอนและคนเรียน คุณแค่ลองมาฟังดูก็ได้ว่า แนวคิดของคนที่เป็น life designer หรือนักออกแบบชีวิตเป็นยังไง เช่นอย่างที่บอกว่า ไม่ต้องมี work life balance ก็ได้
ชีวิตคนเราบางทีก็ไม่ต้องไปหมกมุ่นกับการหาแพสชั่น ก็ได้ เพราะต้องอย่าลืมว่าเราถูกสอนให้หาแพสชั่นตลอดเวลา ทั้งในโฆษณา หรือในสื่อต่างๆ ทำราวกับว่า เราหาแพสชั่นเจอแล้วทุกอย่างจะจบ เราจะแก้ปัญหาทุกอย่างได้ คนก็เลยชอบบอกว่า ถ้าไม่รู้จะทำอะไร ให้ไปคิดก่อนว่าชอบอะไร
ซึ่งจากสถิติที่เขาเก็บกันมาทั่วโลก เขาพบว่า มีคนแค่ 20% เท่านั้นที่บอกได้ว่าตัวเองมีแพสชั่นอะไรชัดๆ ได้หนึ่งอย่าง แต่อีก 80 % คือไม่มีหรืออาจจะมีหลายอย่างมากๆ จนไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไรกันแน่ ซึ่งผมรู้สึกว่าคุณเป็น 20% นั้นที่มี ก็ถือว่าโชคดีไป และดีใจด้วย แต่ถ้าคุณเป็นคน 80% ที่เหลือ การได้มาเรียนรู้วิชาการออกแบบชีวิตก็ช่วยคุณได้นะ อย่างน้อยก็ทำให้คุณใจเย็นลง และไม่เครียดกับชีวิตจนเกินไป
Designing Your Life เขาจะให้ออกแบบ 3 แผนเลย แผนแรกคือ 5 ปีข้างหน้า เราอยากทำอะไร แผนสอง ให้คิดสถานการณ์ว่าถ้าไม่มีงานในแบบที่เราทำอยู่แล้วในโลกใบนี้ เแล้วจะทำอะไรดี แผนที่สามคือ ถ้ามีเงินไม่จำกัด และไม่ต้องกลัวคนนินทาว่ามีเงินแล้วทำอะไรก็ได้ เราจะทำอะไรดี เช่น แต่ไม่ได้ให้เลือกนะ คิดมาเพื่อมาดูว่าจริง ๆ แล้วคืออะไรคือศักยภาพหรือความสนใจที่ซ่อนอยู่ของเรา
เป็นอีกเรื่องที่ผมสนใจตอนที่ได้ไปเรียน เพราะเขาจะสอนเรื่องการวางแผนชีวิตในอีก 5 ปีข้างหน้า ที่เป็นแบบนี้เพราะ 10 มันยาวไป 2 ปีมันก็สั้นเกินไปที่จะคิดอะไรได้ ดังนั้น 5 ปีนี่แหละที่พอดี ๆ แต่สิ่งที่ดีคือในวิชานี้ เขาจะไม่ให้เราออกแบบแผนชีวิตแค่แผนเดียว และเท่าที่ผมไปถามๆ มา หลายคนก็ไม่ได้วางแผนอะไรยาวๆ ส่วนใหญ่ก็มองไว้แค่ปีเดียว หรือมองแค่ต้นปีเป็น new year resolution และไม่ได้มีแผนเยอะ
แต่เมื่อมาเรียน Designing Your Life เขาจะให้ออกแบบ 3 แผนเลย แผนแรกคือวางแผนไปเลย 5 ปีข้างหน้า เราอยากทำอะไร แผนสอง ให้คิดสถานการณ์ว่า ถ้าไม่มีงานในแบบที่เราทำอยู่แล้วในโลกใบนี้ เช่น สำหรับผมคือ ถ้าไม่มีงานจิตวิทยาในโลกใบนี้จะทำอะไร ผมก็ต้องไปคิดแล้วว่าจะทำอะไรดี แผนที่สามคือ ถ้ามีเงินไม่จำกัด และไม่ต้องกลัวคนนินทาว่ามีเงินแล้วทำอะไรก็ได้ แบบนี้เราจะทำอะไรดี เช่น อยากเปิดร้านสัก แต่จบด็อกเตอร์มา ก็ไม่เป็นไร ก็วางแผนเปิดร้านสักไปเลย เขาจะให้เราคิดมาสามแผน แต่ไม่ได้ให้เลือกนะ คิดมาเพื่อมาดูว่าจริง ๆ แล้วคืออะไรคือศักยภาพหรือความสนใจที่ซ่อนอยู่ของเรา
คนส่วนใหญ่จะไม่กล้าคิดแผนสองแผนสาม ไม่กล้าคิดนอกกรอบ แต่วิธีนี้จะช่วยให้เราคิด ซึ่งไปตรงกับหลัก Ideate ของการคิดเชิงออกแบบ เพราะมันจะทำให้เราคิดให้ได้เยอะๆ แล้วค่อยเอามากางดูว่าเราสนใจอะไร เช่น จริง ๆ เราอยากเขียนหนังสือนะ ต่อให้มีเงินไม่จำกัด เราก็ยังอยากเขียนหนังสือ มันก็จะทำให้เราหยิบประเด็นนี้มาให้ความสำคัญ ทำให้เรามีตัวเลือกมากขึ้น เป็นต้น
5. ทำไมชีวิตต้องมีการออกแบบ
ทุกอย่างที่เราปฏิสัมพันธ์ด้วยรอบตัว เกิดจากการออกแบบทั้งนั้น ไม่ว่าจะเก้าอี้ที่เรานั่ง แก้วกาแฟที่เรากิน ของทุกอย่างถูกออกแบบมาหมดเพราะต้องการให้เหมาะกับคนใช้ แต่คนส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยออกแบบชีวิตตัวเอง เพราะเราใช้ชีวิตตัวเองในหมวด default ตั้งค่าเริ่มต้นไว้แบบไหนก็แบบนั้น
ผมชอบคำที่คุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เคยบอกไว้ เพราะแกเป็นแฟนหนังสือเล่มนี้เหมือนกัน แกบอกว่า ของทุกอย่างที่เราปฏิสัมพันธ์ด้วยรอบตัว เกิดจากการออกแบบทั้งนั้น ไม่ว่าจะเก้าอี้ที่เรานั่ง แก้วกาแฟที่เรากิน ของทุกอย่างถูกออกแบบมาหมดเพราะต้องการให้เหมาะกับคนใช้
แต่คนส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยออกแบบชีวิตตัวเอง เพราะเราใช้ชีวิตตัวเองในหมวด default คือตั้งค่าเริ่มต้นไว้แบบไหนก็แบบนั้น เช่น เป็นผู้ใหญ่ก็ต้องทำงาน ทำงานไม่สนุกแล้วทำไงดี ซึ่งก็เป็นเรื่องปกตินะครับ เพราะความสนุกเป็นเรื่องของเด็ก ผมก็เลยรู้สึกว่า วิชานี้น่าสนุกในแง่ของคนสอนและคนเรียน คุณแค่ลองมาฟังดูก็ได้ว่า แนวคิดของคนที่เป็น life designer หรือนักออกแบบชีวิตเป็นยังไง เช่นอย่างที่บอกว่า ไม่ต้องมี work life balance ก็ได้
ชีวิตคนเราบางทีก็ไม่ต้องไปหมกมุ่นกับการหาแพสชั่น ก็ได้ เพราะต้องอย่าลืมว่าเราถูกสอนให้หาแพสชั่นตลอดเวลา ทั้งในโฆษณา หรือในสื่อต่างๆ ทำราวกับว่า เราหาแพสชั่นเจอแล้วทุกอย่างจะจบ เราจะแก้ปัญหาทุกอย่างได้ คนก็เลยชอบบอกว่า ถ้าไม่รู้จะทำอะไร ให้ไปคิดก่อนว่าชอบอะไร
ซึ่งจากสถิติที่เขาเก็บกันมาทั่วโลก เขาพบว่า มีคนแค่ 20% เท่านั้นที่บอกได้ว่าตัวเองมีแพสชั่นอะไรชัดๆ ได้หนึ่งอย่าง แต่อีก 80 % คือไม่มีหรืออาจจะมีหลายอย่างมากๆ จนไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไรกันแน่ ซึ่งผมรู้สึกว่าคุณเป็น 20% นั้นที่มี ก็ถือว่าโชคดีไป และดีใจด้วย แต่ถ้าคุณเป็นคน 80% ที่เหลือ การได้มาเรียนรู้วิชาการออกแบบชีวิตก็ช่วยคุณได้นะ อย่างน้อยก็ทำให้คุณใจเย็นลง และไม่เครียดกับชีวิตจนเกินไป
ขอขอบคุณ CSO ที่เอื้อเฟื้อสถานที่ในการสัมภาษณ์ http://www.csothailand.co.th/
อัปเดตคอร์สใหม่และส่วนลดคอร์สต่างๆ
Thank you!
Policy Pages
Copyright © 2022
รับสิทธิพิเศษก่อนใคร แอดไลน์ @shiftyourfuture