4 ข้อที่ทำให้เห็นว่า “Founder” และ “CEO” นั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
ในบริษัท Startup หลายๆ แห่ง ผู้ก่อตั้ง (Founder) หรือ ผู้บริหารสูงสุด (CEO) นั้นแทบไม่ต่างกับคนที่มีพลังพิเศษ เพราะไม่เพียงแต่มีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ อยู่เสมอแล้ว พวกเขายังสามารถทำให้ความคิดเหล่านั้นเป็นจริงได้อีกด้วย ไม่เชื่อลองนึกถึง มาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก สตีฟ จ็อบส์ หรือ เดวิด เบินนอฟ David Benioff (ผู้ร่วมเขียนบท Game of Thrones)
คุณคิดว่า 3 ชื่อนี้ดูมีพลังใช่ไหมล่ะ
ความจริงคือผู้ก่อตั้งและซีอีโอมีบทบาทหน้าที่ ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน มีเพียงหนึ่งในสี่ของบรรดาผู้ก่อตั้งเท่านั้นที่ยังสามารถดำรงตำแหน่งซีอีโอได้เมื่อมี IPO เข้ามา (การเสนอขายหุ้นให้บุคคลทั่วไป) ซึ่งแปลว่า ส่วนใหญ่หรือเกือบ 80% ผู้ก่อตั้งไม่สามารถอยู่ในตำแหน่งซีอีโอได้
บทความนี้จะแบ่งปันความรู้ในการเปลี่ยนจากผู้ก่อตั้งมาเป็นซีอีโอ โดยดูจากกรณีของบริษัทอย่าง Simple Health ซึ่งเราหวังว่าความรู้เหล่านี้ จะช่วยให้คุณเป็น 20% ของผู้ก่อตั้งที่เหลือรอดไปดำรงตำแหน่งซีอีโอ
แต่ก่อนอื่นเรามาดูความแตกต่างหลักๆ ของทั้ง 2 หน้าที่กันก่อนดีกว่าว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันตรงไหนบ้าง
Founder
– มีวิสัยทัศน์ที่สร้างสรรค์
– จุดไฟให้คนอื่นได้เห็นสิ่งที่คุณเห็น
– หาโอกาสพัฒนาให้สิ่งที่คิดเป็นจริงได้
– สามารถตัดสินใจว่าใครจะเป็นตัวแทนขององค์กรเพื่อช่วยให้องค์กรโตขึ้นได้
CEO
– คิดค้นโครงสร้างและขั้นตอนการทำงานในองค์กรและแก้ปัญหาต่างๆ
– คอยสนับสนุนบริษัทและพาร์ทเนอร์อื่นๆ
– คิดค้นกลยุทธ์และแผนการในแต่ละด้านขององค์กร
– ตัดสินใจเรื่องยากๆ ที่ส่งผลโดยตรงต่อการเติบโตขององค์กร
คุณคิดว่า 3 ชื่อนี้ดูมีพลังใช่ไหมล่ะ
ความจริงคือผู้ก่อตั้งและซีอีโอมีบทบาทหน้าที่ ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน มีเพียงหนึ่งในสี่ของบรรดาผู้ก่อตั้งเท่านั้นที่ยังสามารถดำรงตำแหน่งซีอีโอได้เมื่อมี IPO เข้ามา (การเสนอขายหุ้นให้บุคคลทั่วไป) ซึ่งแปลว่า ส่วนใหญ่หรือเกือบ 80% ผู้ก่อตั้งไม่สามารถอยู่ในตำแหน่งซีอีโอได้
บทความนี้จะแบ่งปันความรู้ในการเปลี่ยนจากผู้ก่อตั้งมาเป็นซีอีโอ โดยดูจากกรณีของบริษัทอย่าง Simple Health ซึ่งเราหวังว่าความรู้เหล่านี้ จะช่วยให้คุณเป็น 20% ของผู้ก่อตั้งที่เหลือรอดไปดำรงตำแหน่งซีอีโอ
แต่ก่อนอื่นเรามาดูความแตกต่างหลักๆ ของทั้ง 2 หน้าที่กันก่อนดีกว่าว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันตรงไหนบ้าง
Founder
– มีวิสัยทัศน์ที่สร้างสรรค์
– จุดไฟให้คนอื่นได้เห็นสิ่งที่คุณเห็น
– หาโอกาสพัฒนาให้สิ่งที่คิดเป็นจริงได้
– สามารถตัดสินใจว่าใครจะเป็นตัวแทนขององค์กรเพื่อช่วยให้องค์กรโตขึ้นได้
CEO
– คิดค้นโครงสร้างและขั้นตอนการทำงานในองค์กรและแก้ปัญหาต่างๆ
– คอยสนับสนุนบริษัทและพาร์ทเนอร์อื่นๆ
– คิดค้นกลยุทธ์และแผนการในแต่ละด้านขององค์กร
– ตัดสินใจเรื่องยากๆ ที่ส่งผลโดยตรงต่อการเติบโตขององค์กร
ข้อที่ 1 ทุกคนจะรัก Founder แต่ไม่ได้รัก CEO มากนัก
ในตอนแรก ก่อนที่จะได้มาซึ่งสินค้าหรือการหาตลาดที่เหมาะสม บทบาทของผู้ก่อตั้งจะมีความน่าตื่นเต้นและเหลือเชื่อในเวลาเดียวกัน ทุกอย่างเป็นไปได้และไร้ขีดจำกัด คุณมีทีมเล็กๆ ที่ทุกคนเชื่อมั่นในวิสัยทัศน์ของคุณ ทำให้คุณมองเห็นความก้าวหน้าของบริษัทอยู่เสมอ
แต่เมื่อบริษัทเติบโตขึ้น ผู้ก่อตั้งเปลี่ยนไปดำรงตำแหน่ง CEO คราวนี้แหละที่จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างมากมาย งานของ CEO คือการกำหนดสิ่งที่องค์กรต้องโฟกัส ซึ่งการตัดสินใจบางอย่างอาจจะนำคุณไปสู่ความขัดแย้งกับคนในองค์กรได้ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะคุณกำลังอยู่ในฐานะ CEO ที่ต้องนำทางองค์กร
แม้บางเรื่องจะไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่สำหรับพนักงานส่วนใหญ่ แต่ถ้ามันทำให้พนักงานเกิดความวิตกกังวล คุณก็มีหน้าที่ต้องจัดการปัญหาเหล่านั้นโดยเร็วที่สุด รวมๆ แล้วหน้าที่ความรับผิดชอบก็จะมากขึ้นและมีผลที่ยิ่งใหญ่ขึ้นนั่นเอง
นี่คือสาเหตุที่หลายคนมองว่าตำแหน่ง CEO ค่อนข้าง “โดดเดี่ยว” เพราะเมื่อคุณมีสิ่งที่จำเป็นต้องจัดลำดับความสำคัญมากขึ้น จึงเป็นเรื่องยากสำหรับคนในองค์กรที่จะเข้าใจการตัดสินใจของคุณ
เคล็ดลับในการแก้ปัญหา : เมื่อองค์กรของคุณเติบโตขึ้น มุมมองและเป้าหมายของคุณจะกลายเป็นเอกลักษณ์ขององค์กร ทำให้พนักงานบางคนไม่เข้าใจการตัดสินใจของคุณในบางครั้ง คุณจึงควรพร้อมจะกล่าว “ขอโทษ” อยู่เสมอ และเดินหน้าทำงานต่อโดยทิ้งความขัดแย้งไว้ข้างหลัง
ข้อที่ 2 CEO ไม่สามารถใช้ความเห็นของตัวเองเป็นหลักได้
เมื่อวันเวลาผ่านไป คุณได้ก้าวขาเข้ามาทำหน้าที่ CEO วันวานของการเวิร์คช็อป หรือการทำกิจกรรมพัฒนาทักษะคนในทีมได้ค่อยๆผ่านไป และในวันหนึ่งแนวคิดที่ออกมาจากปากของคุณ อาจจะไม่ได้ว้าวเสมอไปแล้ว เพราะทุกๆ เรื่องต้องวัดจากกฏและข้อกำหนดของบริษัทอย่างจริงจัง
เคล็ดลับในการแก้ปัญหา : เมื่อมีการประชุมหรือการสนทนาเรื่องใดๆ กับคนในทีม นับจากนี้คุณก็ต้องเริ่มคิดวิเคราะห์ให้ดีเสียก่อนที่จะเผยแพร่ความคิดเหล่านั้นออกมา
ข้อที่ 3 การตัดสินใจของคุณจะยากขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อคำพูดของคุณมีความสำคัญมากขึ้น การตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ก็ต้องลำบากมากขึ้นด้วยเช่นกัน เพราะเมื่อคุณก้าวเข้ามายืนในตำแหน่งที่จริงจังมากขึ้นแล้ว ต้องเตรียมใจเลยว่า ปัญหาหนักๆ และสถานการณ์ที่ยากลำบากจะเข้ามาหาคุณอยู่เรื่อยๆ ซึ่งถ้าคุณไม่ตัดสินใจหรือลงมือทำอะไรเลย แน่นอนว่าการทำงานจะต้องวุ่นวายมากขึ้น คุณอาจจะต้องตัดสินใจระหว่างเรื่องที่ยากกับเรื่องที่ยากมากๆ และที่สำคัญต้องแก้ปัญหาให้เร็วด้วย เพราะคนอื่นๆ ในองค์กรจะได้รับผลกระทบอย่างแน่นอนถ้าหากคุณลังเลไม่ตัดสินใจสักที
เคล็ดลับในการแก้ปัญหา : ต้องพร้อมรับมือกับการตัดสินใจที่ลำบากตลอดเวลา เพราะเมื่อมีอะไรเกิดขึ้นคุณจะได้ไม่ต้องกังวลและพะวักพะวงมากจนเกินไป
ในตอนแรก ก่อนที่จะได้มาซึ่งสินค้าหรือการหาตลาดที่เหมาะสม บทบาทของผู้ก่อตั้งจะมีความน่าตื่นเต้นและเหลือเชื่อในเวลาเดียวกัน ทุกอย่างเป็นไปได้และไร้ขีดจำกัด คุณมีทีมเล็กๆ ที่ทุกคนเชื่อมั่นในวิสัยทัศน์ของคุณ ทำให้คุณมองเห็นความก้าวหน้าของบริษัทอยู่เสมอ
แต่เมื่อบริษัทเติบโตขึ้น ผู้ก่อตั้งเปลี่ยนไปดำรงตำแหน่ง CEO คราวนี้แหละที่จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างมากมาย งานของ CEO คือการกำหนดสิ่งที่องค์กรต้องโฟกัส ซึ่งการตัดสินใจบางอย่างอาจจะนำคุณไปสู่ความขัดแย้งกับคนในองค์กรได้ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะคุณกำลังอยู่ในฐานะ CEO ที่ต้องนำทางองค์กร
แม้บางเรื่องจะไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่สำหรับพนักงานส่วนใหญ่ แต่ถ้ามันทำให้พนักงานเกิดความวิตกกังวล คุณก็มีหน้าที่ต้องจัดการปัญหาเหล่านั้นโดยเร็วที่สุด รวมๆ แล้วหน้าที่ความรับผิดชอบก็จะมากขึ้นและมีผลที่ยิ่งใหญ่ขึ้นนั่นเอง
นี่คือสาเหตุที่หลายคนมองว่าตำแหน่ง CEO ค่อนข้าง “โดดเดี่ยว” เพราะเมื่อคุณมีสิ่งที่จำเป็นต้องจัดลำดับความสำคัญมากขึ้น จึงเป็นเรื่องยากสำหรับคนในองค์กรที่จะเข้าใจการตัดสินใจของคุณ
เคล็ดลับในการแก้ปัญหา : เมื่อองค์กรของคุณเติบโตขึ้น มุมมองและเป้าหมายของคุณจะกลายเป็นเอกลักษณ์ขององค์กร ทำให้พนักงานบางคนไม่เข้าใจการตัดสินใจของคุณในบางครั้ง คุณจึงควรพร้อมจะกล่าว “ขอโทษ” อยู่เสมอ และเดินหน้าทำงานต่อโดยทิ้งความขัดแย้งไว้ข้างหลัง
ข้อที่ 2 CEO ไม่สามารถใช้ความเห็นของตัวเองเป็นหลักได้
เมื่อวันเวลาผ่านไป คุณได้ก้าวขาเข้ามาทำหน้าที่ CEO วันวานของการเวิร์คช็อป หรือการทำกิจกรรมพัฒนาทักษะคนในทีมได้ค่อยๆผ่านไป และในวันหนึ่งแนวคิดที่ออกมาจากปากของคุณ อาจจะไม่ได้ว้าวเสมอไปแล้ว เพราะทุกๆ เรื่องต้องวัดจากกฏและข้อกำหนดของบริษัทอย่างจริงจัง
เคล็ดลับในการแก้ปัญหา : เมื่อมีการประชุมหรือการสนทนาเรื่องใดๆ กับคนในทีม นับจากนี้คุณก็ต้องเริ่มคิดวิเคราะห์ให้ดีเสียก่อนที่จะเผยแพร่ความคิดเหล่านั้นออกมา
ข้อที่ 3 การตัดสินใจของคุณจะยากขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อคำพูดของคุณมีความสำคัญมากขึ้น การตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ก็ต้องลำบากมากขึ้นด้วยเช่นกัน เพราะเมื่อคุณก้าวเข้ามายืนในตำแหน่งที่จริงจังมากขึ้นแล้ว ต้องเตรียมใจเลยว่า ปัญหาหนักๆ และสถานการณ์ที่ยากลำบากจะเข้ามาหาคุณอยู่เรื่อยๆ ซึ่งถ้าคุณไม่ตัดสินใจหรือลงมือทำอะไรเลย แน่นอนว่าการทำงานจะต้องวุ่นวายมากขึ้น คุณอาจจะต้องตัดสินใจระหว่างเรื่องที่ยากกับเรื่องที่ยากมากๆ และที่สำคัญต้องแก้ปัญหาให้เร็วด้วย เพราะคนอื่นๆ ในองค์กรจะได้รับผลกระทบอย่างแน่นอนถ้าหากคุณลังเลไม่ตัดสินใจสักที
เคล็ดลับในการแก้ปัญหา : ต้องพร้อมรับมือกับการตัดสินใจที่ลำบากตลอดเวลา เพราะเมื่อมีอะไรเกิดขึ้นคุณจะได้ไม่ต้องกังวลและพะวักพะวงมากจนเกินไป
ข้อที่ 4 CEO ต้องสร้างภาพรวมทั้งองค์กร ไม่ใช่เฉพาะแค่ตัวสินค้าใดสินค้าหนึ่ง
ในขณะที่ Founder เป็นผู้ริเริ่มตัวองค์กร แต่หน้าที่ของการเป็น CEO คือทำให้องค์กรก้าวไปข้างหน้าอย่างมีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งนั่นจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทางความคิดเกิดขึ้น ไม่ใช่แค่เรื่องการพัฒนาสินค้าหนึ่งชิ้นแล้วก็จบไป แต่ต้องคิดอีกด้วยว่าสินค้าเหล่านี้จะต่อยอดออกมาเป็นสินค้าใหม่ๆ ได้บ้างหรือไม่ในระยะยาว
ตรงนี้คำถามที่คุณควรนึกถึงอยู่เสมอก็คือ
– ข้อมูลต่างๆ จะมีการเคลื่อนที่อย่างไร ทั้งภายในและภายนอก?
– การตัดสินใจจะเป็นในรูปแบบไหน ใครหรือฝ่ายไหนต้องรับผิดชอบบ้าง?
– โอกาสไหนที่ควรคว้าไว้และทำไมต้องเลือกโอกาสนั้นๆ ?
แน่นอนว่าการหาคำตอบที่ถูกต้องจะไม่ใช่เรื่องง่าย ความสามารถและทักษะแรกๆ ที่คุณใช้เมื่อตอนเป็น Founder อาจจะไม่มีประโยชน์มากนักในตอนนี้ ความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ ที่คุณใช้เพื่อผลิตสินค้าออกมาอาจจะไม่เท่ากับความยากที่ต้องใช้เหตุผลเป็นหลักเมื่อรับหน้าที่ CEO
เคล็ดลับในการแก้ปัญหา : ต้องเข้าใจว่า การใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตัวเองคนเดียวเพื่อสร้างสิ่งใหม่ๆ มีความแตกต่างอย่างมากกับการใช้สมองเพื่อบริหารลูกทีมในองค์กร เพราะหน้าที่หลักๆของ CEO ก็คือการใช้ทักษะเพื่อบริหารคนจำนวนมากนั่นเอง
ข้อควรคิด
จากหลากหลายความเห็นและมุมมองทั้ง 4 ข้อที่ว่ามานี้ น่าจะมีส่วนช่วยให้คุณได้เข้าใจถึงความแตกต่างของการทำงานใน 2 บทบาทนี้มากขึ้น และจะช่วยชี้ทางให้คุณสามารถจัดการสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้ไอเดียในการสร้างสรรค์สินค้าและบริการที่มีคุณภาพและน่าสนใจในฐานะ Founder แต่ก็สามารถบริหารองค์กรและดูแลทีมให้มีพัฒนาการอย่างก้าวกระโดดในฐานะ CEO ได้เช่นกัน
ที่มา https://marker.medium.com/the-3-big-ways-that-founder-and-ceo-are-different-jobs-98cb009290ac
ในขณะที่ Founder เป็นผู้ริเริ่มตัวองค์กร แต่หน้าที่ของการเป็น CEO คือทำให้องค์กรก้าวไปข้างหน้าอย่างมีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งนั่นจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทางความคิดเกิดขึ้น ไม่ใช่แค่เรื่องการพัฒนาสินค้าหนึ่งชิ้นแล้วก็จบไป แต่ต้องคิดอีกด้วยว่าสินค้าเหล่านี้จะต่อยอดออกมาเป็นสินค้าใหม่ๆ ได้บ้างหรือไม่ในระยะยาว
ตรงนี้คำถามที่คุณควรนึกถึงอยู่เสมอก็คือ
– ข้อมูลต่างๆ จะมีการเคลื่อนที่อย่างไร ทั้งภายในและภายนอก?
– การตัดสินใจจะเป็นในรูปแบบไหน ใครหรือฝ่ายไหนต้องรับผิดชอบบ้าง?
– โอกาสไหนที่ควรคว้าไว้และทำไมต้องเลือกโอกาสนั้นๆ ?
แน่นอนว่าการหาคำตอบที่ถูกต้องจะไม่ใช่เรื่องง่าย ความสามารถและทักษะแรกๆ ที่คุณใช้เมื่อตอนเป็น Founder อาจจะไม่มีประโยชน์มากนักในตอนนี้ ความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ ที่คุณใช้เพื่อผลิตสินค้าออกมาอาจจะไม่เท่ากับความยากที่ต้องใช้เหตุผลเป็นหลักเมื่อรับหน้าที่ CEO
เคล็ดลับในการแก้ปัญหา : ต้องเข้าใจว่า การใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตัวเองคนเดียวเพื่อสร้างสิ่งใหม่ๆ มีความแตกต่างอย่างมากกับการใช้สมองเพื่อบริหารลูกทีมในองค์กร เพราะหน้าที่หลักๆของ CEO ก็คือการใช้ทักษะเพื่อบริหารคนจำนวนมากนั่นเอง
ข้อควรคิด
จากหลากหลายความเห็นและมุมมองทั้ง 4 ข้อที่ว่ามานี้ น่าจะมีส่วนช่วยให้คุณได้เข้าใจถึงความแตกต่างของการทำงานใน 2 บทบาทนี้มากขึ้น และจะช่วยชี้ทางให้คุณสามารถจัดการสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้ไอเดียในการสร้างสรรค์สินค้าและบริการที่มีคุณภาพและน่าสนใจในฐานะ Founder แต่ก็สามารถบริหารองค์กรและดูแลทีมให้มีพัฒนาการอย่างก้าวกระโดดในฐานะ CEO ได้เช่นกัน
ที่มา https://marker.medium.com/the-3-big-ways-that-founder-and-ceo-are-different-jobs-98cb009290ac
อัปเดตคอร์สใหม่และส่วนลดคอร์สต่างๆ
Thank you!
Policy Pages
Copyright © 2022
รับสิทธิพิเศษก่อนใคร แอดไลน์ @shiftyourfuture